11 พฤษภาคม 2555

วิกิลีกค์ฉบับเต็ม: นายกฯ ทักษิณ คาดการณ์เกี่ยวกับรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ, การนิรโทษกรรมและการใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ

เอกสารความลับโดย: เอกอัครราชฑูต อีริค จี จอห์น ด้วยเหตุผล¨ 1.4 (บี) - ข้อมูลจากรัฐบาลต่างประเทศ และ 1.4 (ดี) ความสัมพันธํระหว่างประเทศหรือกิจกรรมระหว่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงแหล่งข่าวลับ

บทสรุป

1. (ซี หรือ Classified / Confidential – ปกปิด) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ (ชินวัตร) กล่าวกับเอกอัครราชทูตในการพบปะเป็นการส่วนตัวเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า นายกรัฐมนตรีสมัคร (สุนทรเวช) ได้รับพระบรมราชานุญาตจากทางสถาบันฯ ให้จัดสร้างรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อที่จะประสานรอยร้าวซึ่งเกิดขึ้นทางการเมืองในประเทศไทย นายกฯ ทักษิณได้คาดการณ์ว่า รัฐบาลชุดใหม่นี้ ซึ่งประกอบขึ้นจากพรรคการเมืองทั้งหมด มีโอกาสที่จะมีอายุการทำงานหนึ่งปีและสามารถดำเนินการปฎิรูปแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงว่า ผู้ที่มีบทบาททางการเมืองทุกคนรวมไปถึงนายกฯ ทักษิณจะได้รับการอภัยโทษ นายกฯ ทักษิณจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้กลับคืนมา และเขาจะต้องล้มเลิกบทบาททางการเมืองทั้งหมดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่โดยการอาศัยอยู่ในต่างประเทศ นายกฯ ทักษิณยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของเขากับxxxxxx, xxxxxxxxxx และ xxxxxxxxxxด้วย แนวคิดในเรื่องของรัฐบาลแห่งชาติอาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งเกิดปะทุกันขึ้นมาอย่างง่ายๆ รวมไปถึงสภาพการณ์ทางการเมืองซึ่งมีความขัดแย้งเป็นอย่างสูงนั้น สามารถสงบลงไปได้ แต่เรายังมีความกังขาอยู่เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมการจัดการซึ่งนายกฯ ทักษิณได้สรุปความว่า มันจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งขั้นพื้นฐานเหล่านี้กับกลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมอยู่ในประเทศไทยอย่างจริงจังได้หรือเปล่า - จบบทสรุป

รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ, การอภัยโทษ
หนทางที่จะสร้างเสถียรภาพในการเมืองของไทยหรือเปล่า?
————————————

2. (ซี) อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้นัดพบเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่บ้านพักเป็นการส่วนตัวเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม (พ.ศ. 2551) นายกฯ ทักษิณได้กล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาได้เรียกร้องให้มีการพบปะครั้งนี้เพื่อกล่าวคำอำลา เพราะตัวเขามีความคาดหวังว่า เขาจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตอยู่นอกประเทศไทยภายในอนาคตกาลข้างหน้า การออกเดินทางของเขาไปอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นส่วนหนึ่งของทางออกซึ่งได้ถูกวางแผนไว้โดยอย่างละเอียด ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นกับการเมืองของประเทศไทย
.
3. (ซี) นายกฯ ทักษิณ ได้บอกเล่าว่า xxxxxxxxx ได้xxxxxxxxxอนุญาตxxxxxxxx ให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชทำการxxxxxxxxx เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ในการxxxxx ครั้งนั้น นายกฯ สมัครได้รับxxxxx ให้ก่อตั้งรัฐบาลเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งจะมอบให้พรรคการเมืองทุกพรรคมีตำแหน่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี โดยทำเป็นสัดส่วนตามที่นั่งที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ดูเหมือนว่านายกฯ ทักษิณจะสันนิษฐาน – แต่ไม่ได้หมายถึงว่ามันเป็นเรื่องที่แน่นอน ---ว่า นายกฯ สมัครจะยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นพรรคการเมืองใหญ่ลำดับที่สอง ซึ่งในขณะนี้มีตำแหน่งเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่เพียงพรรคเดียว จะได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง รวมไปถึงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ด้วย นายกฯ ทักษิณ คาดการณ์ว่า รัฐบาลเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติชุดใหม่นี้จะอยู่ได้ประมาณหนึ่งปี และในช่วงเวลานั้น ทางฝ่ายรัฐสภาฯ จะดำเนินการปฎิรูปแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการที่มีอยู่

4. (ซี) นายกฯ ทักษิณ เสริมว่า ภายในเวลาไม่ช้า หลังจากที่มีการก่อตั้งรัฐบาลชุดนี้เกิดขึ้นแล้ว จะมีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมอย่างกว้างขวางให้เกิดขึ้น เรื่องนี้เป็นส่วนที่สำคัญ เพราะว่า นายกฯ ทักษิณ และภรรยาของเขา (ในขณะนั้น) จะถูกตัดสินว่ากระทำความผิดในคดีต่างๆ ซึ่งยังอยู่ในศาล โดยเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ คดีของ “การใช้อำนาจโดยมิชอบ” (ตามหลักฐานอ้างอิง ชุด บี) นายกฯ ทักษิณได้อ้างถึงเรื่องการตัดสินคดีซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นว่า เป็นเรื่องความลำเอียงและความมีอคติของทางฝ่ายผู้พิพากษากับตัวของเขา โดยกล่าวหาว่า xxxxxxx ได้xxxxxสื่อสารกับผู้พิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคน ในการxxxxxx ของทางฝ่ายศาล (ด้วยคำพูดของนายกฯ ทักษิณเอง) ว่า ทางศาลจะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างตามเท่าที่จำเป็น เพื่อกำจัดนายกฯ ทักษิณออกไปให้ได้

5. (ซี) นายกฯ ทักษิณ กล่าวว่า ในการนิรโทษกรรมซึ่งจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ จะอนุญาตให้นายกฯ ทักษิณได้รับการทรัพย์สินของเขาซึ่งถูกยึดไว้ กลับครอบครองคืนมาได้ อย่างไรก็ตาม ในการแลกเปลี่ยนนั้น ตัวเขาเอง จะต้องประกาศสละการเข้ามายุ่งในวิถีทางทางการเมืองตลอดไป และเน้นความสนใจของเขาไปเรื่องการประกอบธุรกิจของเขาแทน ในขณะที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่โดยการอาศัยอยู่ในต่างประเทศ นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า ตัวเขามีความยินดีที่จะปฎิบัติเงื่อนไขเหล่านี้ เขายังเสริมต่อไปว่า ก่อนที่เขาจะออกเดินทางไปต่างประเทศ เขาหวังว่าจะได้รับxxxxxxxxxxx ให้เขาได้รับการxxxx กับxxxxxxxxxxและxxxxxxx โดยต่างเวลากัน เขากล่าวว่า ถ้ามีโอกาสได้รับการxxxxxxx ทั้งสองครั้งนี้แล้ว ตัวเขาจะมอบทรัพย์สินบริจาคจำนวนมหาศาลให้แต่ละxxxxxxด้วย (บันทึก: เราสันนิษฐานว่า การบริจาคเหล่านี้จะมุ่งตรงไปยังมูลนิธิต่างๆ ไม่ใช่ให้กับ xxxxxxxxxx และ xxxxxxxxxx ตามที่กล่าวมานั้น - จบบันทึก)

เบื้องหลังความสัมพันธ์ของนายกฯ ทักษิณกับทางฝ่ายสถาบันฯ
——————————————

6. (ซี) นายกฯ ทักษิณได้สะท้อนให้เห็นว่า ตัวเขาได้มีความสัมพันธ์อย่างดีกับ xxxxxxxxxx ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระสี่ปีแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง xxxxxxxxxxxxxxมีความปลื้มปิติกับตัวนายกฯ ทักษิณ ที่เริ่มขั้นตอนดำเนินการเพื่อปรับปรุงการบริหารงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในเรื่องของทรัพย์สินของสำนักงาน โดยการเพิ่มมูลค่าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้อย่างมโหฬารทีเดียว ทัศนคติของxxxxxxxxxxxxที่มีต่อตัวเขานั้นได้เริ่มเปลี่ยนไปหลังจากที่พรรคไทยรักไทยของเขาได้ชนะการเลือกตั้งอย่างมโหฬาร เป็นพรรคการเมืองคุมเสียงอยู่พรรคเดียวที่ใหญ่ที่สุด (377 ที่นั่งต่อ 500 ที่นั่ง) ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นายกฯ ทักษิณกล่าวว่า ผู้มีบทบาททางฝ่ายสถาบันฯ หลายคนมีความรู้สึกว่าถูกข่มขวัญด้วยพลังทางการเมืองของเขา รวมไปถึงการได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชาวไทยที่อยู่ในแถบชนบท ซึ่งเห็นคุณค่ากับความมุ่งมั่นของเขาที่ต้องการกำจัดความยากจนออกไป

7. (ซี) นายกฯ ทักษิณได้ย้ำถึงการตัดสินใจของเขาที่ขายหุ้นในเครือของบริษัทชินคอร์ปกับบริษัทการลงทุนทามาเสกของประเทศสิงค์โปร์นั้น เป็นจุดหันเหอันสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับxxxxxxxxxx นายกฯ ทักษิณอ้างว่า ตัวเขาได้บอกกับxxxxxxxxxx เกี่ยวกับการขายในการxxxxxครั้งหนึ่งก่อนที่จะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการกับทางสาธารณชน เมื่อxxxxxxxxxได้ยินว่า นายกฯ ทักษิณจะขายหุ้นในเครือข่ายของตนให้กับนิติบุคคลต่างชาตินั้น มีรายงานต่อว่า xxxxxxxxxxx ได้xxxxxมีxxxxอาการเกร็งเครียดอย่างเห็นได้ชัดและxxxxถามอีกว่า “ขายให้กับใคร?” นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาไม่ได้ยินคำถามของxxxxxxxxxได้อย่างชัดเจน จึงได้ถามท่านกลับไปว่า “ขอประทานโทษครับ?” จากนั้น xxxxxxxxxxได้xxxxxและกล่าวซ้ำโดยคำถามเดิมด้วยxxxxเสียงอันดังอีกครั้งหนึ่ง นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาไม่เคยเห็นxxxxxxxxอาการกิริยาของxxxxxxxxxxเป็นเช่นนี้มาก่อนเลย นายกฯ ทักษิณกล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ทางฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของเขาได้ทำการรุกอย่างมีประสิทธิภาพ; ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เริ่มรับนำเอาผู้สนับสนุนอย่างจริงจังเข้ามาร่วมในการชุมนุมต่างๆ รวมถึงได้รับเงินสนับสนุนมากพอใช้ตามที่ฝ่ายตนปรารถนา และรวมไปถึงการสร้างข่าวมดเท็จในเรื่องการขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการปูทางให้เกิดเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวางต่อการก่อการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549

8. (ซี) นายกฯ ทักษิณ ได้เสริมต่อไปอีกว่า เขาเชื่อว่า เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับxxxxxxxxxxx อย่างไรก็ตาม xxxxxxxxxxได้xxxxกล่าวกับนายกฯ ทักษิณ (หลังจากการรัฐประหาร ซึ่งไม่ระบุวันเวลาใดๆ ) ว่า xxxxxxไม่สามารถที่จะพบกับนายกฯ ทักษิณได้เป็นเวลาอีกนาน เพราะว่า xxxxxxxxxx xxxงมีความเป็นปรปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่

ข้อคิดเห็น
——————————————

9. (ซี) ประเด็นที่สำคัญหลายเรื่องตามแผนการที่นายกฯ ทักษิณได้สรุปความให้ฟังนั้น ยังไม่มีความชัดเจนกับเราเท่าไรนัก การอพภัยโทษที่นายกฯ ทักษิณได้พูดถึงนั้น จะเกิดขึ้นโดยการออกกฎหมายจากทางฝ่ายรัฐสภาฯ หรือจะเป็นพระราชบัญญัติ? มันจะครอบคลุมไปถึงอดีตสมาชิกผู้บริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 110 คน รวมไปถึงตัวนายกฯ ทักษิณ ซึ่งถูกถอดถอนออกไปจากสิทธิทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2550 หรือไม่ (ตามหลักฐานอ้างอิง ชุด ดี)? บางทีในเรื่องของการข่มขู่ต่อการยุบพรรคซึ่งยังคงมีอยู่นั้น (ตามหลักฐานอ้างอิงชุด ซี) มันจะล้มเลิกไปหรือไม่? บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในทางใดที่สามารถก่อให้เกิดกระบวนการแปรญัตติขึ้นมาได้? แต่กระนั้นก็ตาม ถ้าแผนการรวมไปถึงรายละเอียดแต่ละข้อนั้น ได้กลายเป็นจริงขึ้นมา มันอาจจะเปิดช่องว่างที่มีคุณค่าต่อการปฎิบัติงานให้ดำเนินต่อไปและช่วยสร้างบรรยากาศที่มีแต่การปะทุกันอย่างเผ็ดร้อนและมีสภาพการขัดแย้งทางการเมืองอย่างสูงนั้นให้สงบลงมาได้

10. (ซี) อย่างไรก็ตาม เรายังมีข้อกังขาอยู่ว่า ในเรื่องการพิพาทซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันนานระหว่างฝ่ายของนายกฯ ทักษิณ กับฝ่ายของสถาบันฯ จะกระทำกันอย่างจริงใจหรือคาดหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำเช่นเดียวกัน เราขอบันทึกว่า ฝ่ายนายกฯ ทักษิณได้กล่าวอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกต่อทางสาธารณชนแล้วว่า ตัวเขาจะถอนตัวออกไปจากทางการเมือง แต่มันยังปรากฎให้เห็นอยู่ว่า ตัวนายกฯ ทักษิณได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการการบริหารของรัฐบาลอย่างลึกทีเดียว มันจะเป็นเรื่องที่ดูเหมือนน่าแปลกมาก ถ้านักการเมืองของประเทศไทยจะขอหยุดการปรึกษาหารือกับนายกฯ ทักษิณ หรือไม่ก็ ไปขอร้องให้นายกฯ ทักษิณทำการช่วยเหลือทางด้านการเงิน และพยายามที่จะนำดึงเอาการสนับสนุนของนายกฯ ทักษิณ ซึ่งเป็นที่นิยมนั้น มาใช้เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา (นักการเมือง) เอง และถ้านายกฯ ทักษิณได้รับการอภัยโทษและทรัพย์สินเงินทุนของเขาได้ถูกปล่อยคืนออกมาแล้ว มันก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่า ทางฝ่ายสถาบันฯ จะมีความแน่ใจอย่างไรว่าตัวนายกฯ ทักษิณจะปฎิบัติตามเงื่อนไขที่เขาได้ทำการต่อรองไว้แล้ว

เอกอัครราชฑูตจอห์น

-----------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:

เมื่ออ่านวิกิลีกค์ฉบับนี้ ท่านจะได้เห็นถึงความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งนายกฯ ทักษิณ ได้กล่าวถึงเรื่อง การปรองดองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ แล้วขอให้ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบกับสถานการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กล่าวถึง รัฐบาลเพื่อการสมานฉันท์แห่งชาติเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ผิดอะไรกับเรื่องการขอร้องให้ประเทศชาติเกิดความสามัคคีเท่าไร

เมื่อเรื่องรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติไม่เป็นที่ถูกใจและเลิกล้มความคิดออกไป จึงมีเรื่องเกี่ยวกับทางตุลาการภิวัฒน์เกิดขึ้นในการล้มล้างรัฐบาลซึ่งมาจากประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งต่อมา ได้ส่งผลมาถึงการสังหารประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในเวลา 3 ปีต่อมา

ถึงแม้ว่า นายกฯ ทักษิณได้สร้างผลประโยชน์หลายอย่างให้กับองค์กรเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ในท้ายที่สุด ความโลภของตัวบุคคลซึ่งเป็นกิเลสที่ไม่มีการหยุดยั้งว่า เมื่อไรจะเพียงพอเสียที มันก็มีแต่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ จะมาคิดถึงบุญคุณเก่าๆ ที่นายกฯ ทักษิณทำไว้ ก็จงคิดเสียว่า ลืมเสียเหอะ เพราะมันไม่สามารถช่วยอะไรท่านได้เลย

จากบทความนี้ สรุปได้ว่า:

1. นายกฯ ทักษิณ ทราบดีว่า ศาลจะต้องตัดสินว่าตนเองมีความผิดเป็นแน่ ท่านเลยคิดว่า ควรจะเป็นผู้ติดต่อกับเอกอัครราชฑูตจอห์นเอง ในการพบกันสองต่อสอง เพื่อเปิดเผยเรื่องสำคัญๆ ทุกอย่างให้ทางฝ่ายอเมริกันเขาได้ทราบ ดิฉันเชื่อแน่ว่า คำพูดของท่านนั้น จะต้องเป็นความจริง ไม่มีเรื่องโกหกมดเท็จอะไร เพราะสถานภาพของท่านในเวลานั้น ท่านเป็นรองอยู่ และท่านต้องขอความร่วมมือจากต่างประเทศด้วย ประกอบกับว่า ท่านเป็นผู้นัดพบเอกอัครราชฑูตจอห์นเอง

2. นายกฯ ทักษิณมีแผนการลับในเรื่อง "การเดินทางออกไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน" อยู่แล้ว เพราะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ฝ่ายกฎหมายของท่านได้ส่งเรื่องให้กับศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศคือ ประเทศจีนและประเทศอังกฤษ อีกหนึ่งเดือนต่อมาคือ 23 กรกฎาคม 2551 ท่านเข้าไปพบกับเอกอัครราชฑูตจอห์น (แบบลับเฉพาะ สองต่อสอง four eyed meeting หรือ ตาสองคู่เท่านั้น) และเปรยให้ฟังถึงเรื่องการอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานานตามที่วิกิลีกค์ฉบับนี้ได้กล่าว

3. แล้วแปลกไหมคะ ว่า วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ภายหลังจากท่านเข้าพบเอกอัครราชฑูตจอห์นเพียงหนึ่งอาทิตย์ องค์คณะผู้พิพากษาฯ คดีที่ดินรัชดาเขาได้อนุญาตให้ท่านเดินทางออกไปประเทศจีนได้ โดยสร้างเงื่อนไขว่า ท่านจะต้องกลับมารายงานตัวในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 เรื่องนี้ เป็นการคอนเฟิริ์มเรียบร้อยว่า ท่านทราบอยู่แล้วว่า ท่านจะต้องออกเดินทางไปได้แน่ๆ

4. ตามที่เราได้เห็นกันคือ นายกฯ ทักษิณ ได้เดินทางไปที่พิธีการเปิดกีฬาโอลิมปิคที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน (8 สิงหาคม 2551) ซี่งการเดินทางออกจากประเทศไทยในครั้งนั้น เป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เห็นท่านอยู่บนผืนแผ่นดินประเทศไทย (ตามกำหนดการนั้น ท่านบินไปประเทศจีนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 - 10 สิงหาคม 2551 และไปประเทศอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ถึง 20 สิงหาคม 2551)

5. ข้อตกลงและเงื่อนไขระหว่างฝ่ายท่านกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งวางไว้ก่อนหน้านี้ ท่านคงรู้ว่า เขา "เบี้ยว" โดยการนำเคสของท่านขึ้นศาล และพยายามจะกำจัดท่านโดยให้ท่านติดคุก รวมไปถึงการยึดทรัพย์สินทุกอย่างของท่าน แทนที่ท่านจะอยู่นอกประเทศแบบสงบๆ กลายเป็นว่า มีการไล่ล่าเกิดขึ้นแทน ซึ่งต่างกันกับที่หมากของฝ่ายอำมาตย์ได้วางไว้ตามข้อตกลงอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนคล้ายคลึงกันมากในปัจจุบันคือ การที่นายกฯ ทักษิณ ยัง"มีส่วนร่วม" ในกิจการของรัฐบาลบริหารประเทศอยู่ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาล ซึ่งทำให้ภาพพจน์ของรัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดไป ซึ่งไม่แตกต่างอะไรกับรัฐบาลมาร์คซึ่งมีฝ่ายกองทัพเชิดอำนาจอยู่เบื้องหลัง

ตามที่วิเคราะห์มาหลายเรื่อง สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเชื่อใจในอำนาจตุลาการของประเทศไทยเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของท่านนายกฯ ทักษิณ หรือฝ่ายของอำมาตย์ คดีความที่มีการขัดแย้งต่างๆ นี้ มันจะเป็นเรื่องที่ดีมาก ถ้ารัฐบาลของประเทศไทย ยอมรับอำนาจจากศาลอาญาระหว่างประเทศให้เป็นผู้ตัดสินคดีต่างๆ เหล่านี้เสีย

ดิฉันอยากจะให้ท่านเป็นผู้นำในเรื่อง การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศเสียทีในการตัดสินคดีสังหารหมู่ประชาชนในประเทศไทย ไม่ดีกว่าหรือ?

ถ้าประเทศไทยจะยอมให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศทำการตัดสินสองคดี คือ คดีเรื่องราชประสงค์ กับคดีที่เกรือเซะ เพราะมันเป็นเรื่องของการล้างเผ่าพันธุ์ทั้งสองอย่าง จะเป็นเรื่องที่ยุติธรรมที่สุด เพราะผู้บริสุทธิ์จะเป็นผู้ปราศจากความผิด และมีการพิจารณาหลักฐานต่างๆ ตามที่มีอยู่ บุคคลที่กระทำความผิด จะต้องรับโทษตามกระบวนการกฎหมาย

การยอมรับอำนาจจากศาลอาญาระหว่างประเทศให้เป็นผู้ตัดสินคดีต่างๆ เหล่านี้เสีย เพราะเป็นองค์กรเดียวที่ทุกฝ่ายในโลกเขายอมรับในเรื่องความยุติธรรมที่ไม่มีใครสั่งได้

เรื่องที่อ่านจากวิกิลีกค์นั้น ทำให้ดิฉันแปลกใจที่สุดว่า ทำไมท่านนายกฯ ทักษิณ ไม่คิดจะต่อสู้เพื่อตัวท่านเองเลยหรือ? ท่านไม่ได้ผิดอะไร จะต้องมีการอภัยโทษ ท่านยอมอยู่ต่างประเทศเพื่อเขาจะได้ปล่อยทรัพย์สินคืนกลับมาให้ท่านแล้วหวังว่า ท่านจะเลิกยุ่งกับการเมือง สิ่งที่ประชาชนเขาต้องการที่สุดคือ ความยุติธรรมและหยุดระบบสองมาตรฐาน เมื่อท่านไม่ต่อสู้กับความยุติธรรมแล้ว มันทำลายกำลังขวัญกำลังใจกับประชาชนผู้ที่ต่อสู้ในเรื่องนี้อยู่มากทีเดียว

ลองมาคิดถึงเรื่องปัจจุบัน ท่านไม่ต้องการคิดจะต่อสู้ แต่เรียกร้องให้ทุกๆ คนสละ (แม้แต่ชีวิต)เพื่อประเทศไทยจะเดินหน้าไปได้ ดิฉันขอบอกตรงๆ ว่า เรื่องนี้ มันเป็นไปไม่ได้ในประเทศที่มีการเมืองแบ่งแยกอย่างสุดขั้ว และเรื่องที่แปลกคือ กลุ่มที่ได้รับรองจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ กลับกลายเป็นผู้ยื่นมือขอให้อีกฝ่ายทำการปรองดอง

บทเรียนในเรื่องนี้คือว่า แม้เรื่องความสามัคคีปรองดองจะเป็นผลสำเร็จ ตัวการใหญ่จะเริ่มนับหนึ่งและสร้างแผนการณ์อุบาทก์ขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าสัญญา, ข้อตกลง หรือเงื่อนไข จะทำกันอย่างต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม คนที่เสียผลประโยชน์จะเริ่มก่อเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาอีก จะเอาสัจจะและคำสัตย์ของฝ่ายตนเองมาใช้กับพวกนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ไม่มีทางที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาจะไม่ "นับหนึ่ง" เริ่มต้นแผนชั่วๆ ใหม่

ไม่อยากจะคิดลึกๆ นะคะ ว่า เงื่อนไขต่างๆ นั้น ทั้งฝ่ายท่านและอีกฝ่ายหนึ่ง ได้กระทำการตกลงไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว ฉากต่อไปคือ การเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย รวมไปถึงการออกนิรโทษกรรมให้กับทุกๆ ฝ่าย ซึ่งดูง่ายดีนะคะในการวางแผนในคอมพิวเตอร์

ดิฉันมั่นใจว่า แม้การปรองดองจะเป็นผลสำเร็จ จะต้องมีฝ่ายหนึ่งเริ่มป่วนเมืองขึ้นมาอีกรอบหนึ่งอย่างแน่นอน ไม่เชื่อ ก็รอดูบทต่อไปนะคะ ว่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า.....

บทความจาก Doungchampa Spencer


ต้นฉบับ


08BANGKOK2243 THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON, LIFE ABROAD
leave a comment »

“163172″,”7/23/2008 9:51″,”08BANGKOK2243″,”Embassy Bangkok”,”CONFIDENTIAL”,”07BANGKOK2994|08BANGKOK2091|08BANGKOK2092|08BANGKOK2226″,”VZCZCXRO4017

OO RUEHCHI RUEHCN RUEHDT RUEHHM

DE RUEHBK #2243/01 2050951

ZNY CCCCC ZZH

O 230951Z JUL 08

FM AMEMBASSY BANGKOK

TO RUEHC/SECSTATE WASHDC IMMEDIATE 3792

INFO RUEHZS/ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS PRIORITY

RUEHBY/AMEMBASSY CANBERRA PRIORITY 8913

RUEHKO/AMEMBASSY TOKYO PRIORITY 0936

RUEHBJ/AMEMBASSY BEIJING PRIORITY 6185

RUEHLO/AMEMBASSY LONDON PRIORITY 1704

RUEHCHI/AMCONSUL CHIANG MAI PRIORITY 5488

RUEAIIA/CIA WASHINGTON DC PRIORITY

RHEHNSC/NSC WASHDC PRIORITY

RHHMUNA/CDR USPACOM HONOLULU HI PRIORITY

RHEFDIA/DIA WASHDC PRIORITY

RHHMUNA/USCINCPAC HONOLULU HI PRIORITY

RUEKJCS/SECDEF WASHINGTON DC PRIORITY”,”C O N F I D E N T I A L SECTION 01 OF 02 BANGKOK 002243



SIPDIS



NSC FOR PHU



E.O. 12958: DECL: 07/23/2018

TAGS: PGOV, PHUM, KDEM, KJUS, TH

SUBJECT: THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT,

PARDON, LIFE ABROAD



REF: A. BANGKOK 2226 (NO CLEAR PATH TO STABILITY)

B. BANGKOK 2092 (THAKSIN\’S TEAM PESSIMISTIC)

C. BANGKOK 2091 (COURT RULINGS CLOUD FUTURE)

D. 07 BANGKOK 2994 (THAI RAK THAI DISSOLVED)



BANGKOK 00002243 001.2 OF 002



Classified By: Ambassador Eric G. John, reason: 1.4 (b) and (d).



SUMMARY

——

1. (C) Former Prime Minister Thaksin told the Ambassador in a

four-eyes meeting on July 23 that Prime Minister Samak had

received royal approval to form a government of national

unity in order to heal Thailand\’s political rifts. Thaksin

estimated this government, incorporating all political

parties, would likely last for a year and undertake

constitutional reform. In the near future, as part of the

deal, political figures, including Thaksin, would receive a

pardon; Thaksin would regain control over his frozen assets,

and he would give up politics and reside primarily abroad.

Thaksin also discussed his relationship with the *******

and *******. The concept of a national unity government

may help calm the current volatile and highly adversarial

political environment, but we are skeptical that the

arrangement that Thaksin outlined will truly resolve

fundamental conflicts between major interest groups in

Thailand. End Summary.


NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON:

A PATH TO STABILITY IN THAI POLITICS?

————————————-

2. (C) Former Prime Minister Thaksin Shinawatra called on the

Ambassador at his Residence on July 23 for a four-eyes

discussion. Thaksin told the Ambassador he had requested the

meeting in part to bid farewell, as he anticipated he would

soon spend most of his time outside of Thailand. His

departure overseas would be part of an elaborate solution

intended to provide stability in Thai politics.



3. (C) Thaksin related that ******* had received Prime

Minister Samak Sundaravej for an audience on July 22. At

that audience, Samak had received approval for the creation

of a government of national unity, which would entail each

party holding positions in the cabinet in proportion to its

number of seats in the House of Representatives. Thaksin

appeared to presume — but not to consider it certain — that

Samak would remain as Prime Minister. The Democrat Party –

the second largest, currently the sole opposition party –

would receive some Deputy Prime Minister positions, as well

as Ministerial portfolios. Thaksin estimated the new

government of national unity would last up to one year;

during that time, the parliament would undertake a

constitutional reform process.


4. (C) Soon after the government\’s formation, Thaksin added,

a wide-ranging pardon would be issued. This was necessary in

part because Thaksin and his wife would be convicted in

ongoing court cases, most notably the \”abuse of power\” case

(ref B). Thaksin attributed this upcoming conviction to the

judiciary\’s bias against him, alleging that ******* had

conveyed to at least one Constitutional Court Justice during

a royal audience that the Court should, in Thaksin\’s words,

to do whatever was necessary to eliminate Thaksin.


5. (C) The upcoming pardon would allow Thaksin to regain

control over his frozen assets, Thaksin said. In return,

however, he would have to renounce politics forever and focus

instead on his business activities, while residing primarily

abroad. Thaksin told the Ambassador he was willing to abide

by these conditions. He added that, before his departure

overseas, he hoped that the ******* might receive him

for separate audiences; he said he would, on those occasions,

make sizeable donations to each of them. (Note: We presume

these donations would be directed toward foundations, not to

the*******per se. End Note.)


BACKGROUND ON THAKSIN\’S TIES TO THE PALACE


BANGKOK 00002243 002.2 OF 002

——————————————

6. (C) Thaksin reflected that he had enjoyed a good

relationship with the *** during his first term as Prime

Minister. The *** was particularly grateful that Thaksin

had taken steps to improve Crown Property Bureau (CPB)

management of its assets, significantly increasing the CPB\’s

wealth. *** g\’s attitude toward him soured after his Thai

Rak Thai party won a supermajority (377 out of 500 seats) in

the 2005 election. Thaksin said many figures at the palace

felt threatened by his political power and his popularity

with rural Thais, who appreciated his commitment to

eradicating poverty.


7. (C) Thaksin cited his decision to sell his Shin

Corporation conglomerate to Singaporean investment firm

Temasek as a key turning point in his relationship with the

***. Thaksin claimed he told the *** about the sale in an

audience prior to a public announcement. On hearing that

Thaksin would sell the conglomerate to a foreign entity, the

*** reportedly stiffened visibly and asked, \”To whom?\”

Thaksin told the Ambassador he had not heard the ***\’s

question clearly and asked, \”Pardon?\” The *** then erupted,

loudly and angrily repeating his question. Thaksin told the

Ambassador he had never before seen the *** behave thusly.

After this incident, Thaksin said, his political opponents

effectively went on the offensive; the People\’s Alliance for

Democracy drew substantially more supporters to rallies, had

more funding at its disposal, and effectively manipulated the

issue of the Shin Corp sale, paving the way for popular

acceptance of the 2006 coup d\’etat.


8. (C) Thaksin added that he believed that he still had a

good relationship with ******* The

*******, however, had explained to Thaksin (at an

unspecified time post-coup) that he would be unable to meet

with Thaksin for an extended period of time, because of ***

***\’s antipathy toward the former Prime Minister.


COMMENT

——

9. (C) Many key elements of the plan Thaksin outlined remain

unclear to us. Would the pardon of which Thaksin spoke

entail a legislative or royal act? Would it cover the 110

former Thai Rak Thai party executives who, along with

Thaksin, were stripped of their political rights in May 2007

(ref D)? Would the threat of further party dissolutions (ref

C) somehow be lifted? What sort of constitution would an

amendment process produce? Nevertheless, if a plan along

these lines does materialize, it may provide some valuable

breathing room and calm the current volatile and highly

adversarial political environment.


10. (C) We doubt, however, that either side in the

long-running dispute between Thaksin and the Palace will act

in good faith, or expect the other to do so. We note that

Thaksin has already repeatedly pledged publicly that he has

retired from politics, but he appears deeply involved in

governmental affairs. It is nearly inconceivable that Thai

politicians will stop consulting Thaksin, requesting his

financial support, and trying to tap into his popular support

for their own gain. And, if Thaksin is pardoned and has his

funds released, it is unclear how the Palace would ensure

that he upholds his side of the bargain.

JOHN

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากให้ใครเป็นนายก

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Design Blog, Make Online Money