11 พฤษภาคม 2555

วิกิลีกค์ฉบับเต็ม: นายกฯ ทักษิณ คาดการณ์เกี่ยวกับรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ, การนิรโทษกรรมและการใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ

เอกสารความลับโดย: เอกอัครราชฑูต อีริค จี จอห์น ด้วยเหตุผล¨ 1.4 (บี) - ข้อมูลจากรัฐบาลต่างประเทศ และ 1.4 (ดี) ความสัมพันธํระหว่างประเทศหรือกิจกรรมระหว่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงแหล่งข่าวลับ

บทสรุป

1. (ซี หรือ Classified / Confidential – ปกปิด) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ (ชินวัตร) กล่าวกับเอกอัครราชทูตในการพบปะเป็นการส่วนตัวเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า นายกรัฐมนตรีสมัคร (สุนทรเวช) ได้รับพระบรมราชานุญาตจากทางสถาบันฯ ให้จัดสร้างรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อที่จะประสานรอยร้าวซึ่งเกิดขึ้นทางการเมืองในประเทศไทย นายกฯ ทักษิณได้คาดการณ์ว่า รัฐบาลชุดใหม่นี้ ซึ่งประกอบขึ้นจากพรรคการเมืองทั้งหมด มีโอกาสที่จะมีอายุการทำงานหนึ่งปีและสามารถดำเนินการปฎิรูปแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงว่า ผู้ที่มีบทบาททางการเมืองทุกคนรวมไปถึงนายกฯ ทักษิณจะได้รับการอภัยโทษ นายกฯ ทักษิณจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้กลับคืนมา และเขาจะต้องล้มเลิกบทบาททางการเมืองทั้งหมดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่โดยการอาศัยอยู่ในต่างประเทศ นายกฯ ทักษิณยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของเขากับxxxxxx, xxxxxxxxxx และ xxxxxxxxxxด้วย แนวคิดในเรื่องของรัฐบาลแห่งชาติอาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งเกิดปะทุกันขึ้นมาอย่างง่ายๆ รวมไปถึงสภาพการณ์ทางการเมืองซึ่งมีความขัดแย้งเป็นอย่างสูงนั้น สามารถสงบลงไปได้ แต่เรายังมีความกังขาอยู่เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมการจัดการซึ่งนายกฯ ทักษิณได้สรุปความว่า มันจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งขั้นพื้นฐานเหล่านี้กับกลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมอยู่ในประเทศไทยอย่างจริงจังได้หรือเปล่า - จบบทสรุป

รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ, การอภัยโทษ
หนทางที่จะสร้างเสถียรภาพในการเมืองของไทยหรือเปล่า?
————————————

2. (ซี) อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้นัดพบเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่บ้านพักเป็นการส่วนตัวเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม (พ.ศ. 2551) นายกฯ ทักษิณได้กล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาได้เรียกร้องให้มีการพบปะครั้งนี้เพื่อกล่าวคำอำลา เพราะตัวเขามีความคาดหวังว่า เขาจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตอยู่นอกประเทศไทยภายในอนาคตกาลข้างหน้า การออกเดินทางของเขาไปอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นส่วนหนึ่งของทางออกซึ่งได้ถูกวางแผนไว้โดยอย่างละเอียด ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นกับการเมืองของประเทศไทย
.
3. (ซี) นายกฯ ทักษิณ ได้บอกเล่าว่า xxxxxxxxx ได้xxxxxxxxxอนุญาตxxxxxxxx ให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชทำการxxxxxxxxx เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ในการxxxxx ครั้งนั้น นายกฯ สมัครได้รับxxxxx ให้ก่อตั้งรัฐบาลเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งจะมอบให้พรรคการเมืองทุกพรรคมีตำแหน่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี โดยทำเป็นสัดส่วนตามที่นั่งที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ดูเหมือนว่านายกฯ ทักษิณจะสันนิษฐาน – แต่ไม่ได้หมายถึงว่ามันเป็นเรื่องที่แน่นอน ---ว่า นายกฯ สมัครจะยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นพรรคการเมืองใหญ่ลำดับที่สอง ซึ่งในขณะนี้มีตำแหน่งเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่เพียงพรรคเดียว จะได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง รวมไปถึงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ด้วย นายกฯ ทักษิณ คาดการณ์ว่า รัฐบาลเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติชุดใหม่นี้จะอยู่ได้ประมาณหนึ่งปี และในช่วงเวลานั้น ทางฝ่ายรัฐสภาฯ จะดำเนินการปฎิรูปแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการที่มีอยู่

4. (ซี) นายกฯ ทักษิณ เสริมว่า ภายในเวลาไม่ช้า หลังจากที่มีการก่อตั้งรัฐบาลชุดนี้เกิดขึ้นแล้ว จะมีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมอย่างกว้างขวางให้เกิดขึ้น เรื่องนี้เป็นส่วนที่สำคัญ เพราะว่า นายกฯ ทักษิณ และภรรยาของเขา (ในขณะนั้น) จะถูกตัดสินว่ากระทำความผิดในคดีต่างๆ ซึ่งยังอยู่ในศาล โดยเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ คดีของ “การใช้อำนาจโดยมิชอบ” (ตามหลักฐานอ้างอิง ชุด บี) นายกฯ ทักษิณได้อ้างถึงเรื่องการตัดสินคดีซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นว่า เป็นเรื่องความลำเอียงและความมีอคติของทางฝ่ายผู้พิพากษากับตัวของเขา โดยกล่าวหาว่า xxxxxxx ได้xxxxxสื่อสารกับผู้พิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคน ในการxxxxxx ของทางฝ่ายศาล (ด้วยคำพูดของนายกฯ ทักษิณเอง) ว่า ทางศาลจะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างตามเท่าที่จำเป็น เพื่อกำจัดนายกฯ ทักษิณออกไปให้ได้

5. (ซี) นายกฯ ทักษิณ กล่าวว่า ในการนิรโทษกรรมซึ่งจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ จะอนุญาตให้นายกฯ ทักษิณได้รับการทรัพย์สินของเขาซึ่งถูกยึดไว้ กลับครอบครองคืนมาได้ อย่างไรก็ตาม ในการแลกเปลี่ยนนั้น ตัวเขาเอง จะต้องประกาศสละการเข้ามายุ่งในวิถีทางทางการเมืองตลอดไป และเน้นความสนใจของเขาไปเรื่องการประกอบธุรกิจของเขาแทน ในขณะที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่โดยการอาศัยอยู่ในต่างประเทศ นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า ตัวเขามีความยินดีที่จะปฎิบัติเงื่อนไขเหล่านี้ เขายังเสริมต่อไปว่า ก่อนที่เขาจะออกเดินทางไปต่างประเทศ เขาหวังว่าจะได้รับxxxxxxxxxxx ให้เขาได้รับการxxxx กับxxxxxxxxxxและxxxxxxx โดยต่างเวลากัน เขากล่าวว่า ถ้ามีโอกาสได้รับการxxxxxxx ทั้งสองครั้งนี้แล้ว ตัวเขาจะมอบทรัพย์สินบริจาคจำนวนมหาศาลให้แต่ละxxxxxxด้วย (บันทึก: เราสันนิษฐานว่า การบริจาคเหล่านี้จะมุ่งตรงไปยังมูลนิธิต่างๆ ไม่ใช่ให้กับ xxxxxxxxxx และ xxxxxxxxxx ตามที่กล่าวมานั้น - จบบันทึก)

เบื้องหลังความสัมพันธ์ของนายกฯ ทักษิณกับทางฝ่ายสถาบันฯ
——————————————

6. (ซี) นายกฯ ทักษิณได้สะท้อนให้เห็นว่า ตัวเขาได้มีความสัมพันธ์อย่างดีกับ xxxxxxxxxx ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระสี่ปีแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง xxxxxxxxxxxxxxมีความปลื้มปิติกับตัวนายกฯ ทักษิณ ที่เริ่มขั้นตอนดำเนินการเพื่อปรับปรุงการบริหารงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในเรื่องของทรัพย์สินของสำนักงาน โดยการเพิ่มมูลค่าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้อย่างมโหฬารทีเดียว ทัศนคติของxxxxxxxxxxxxที่มีต่อตัวเขานั้นได้เริ่มเปลี่ยนไปหลังจากที่พรรคไทยรักไทยของเขาได้ชนะการเลือกตั้งอย่างมโหฬาร เป็นพรรคการเมืองคุมเสียงอยู่พรรคเดียวที่ใหญ่ที่สุด (377 ที่นั่งต่อ 500 ที่นั่ง) ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นายกฯ ทักษิณกล่าวว่า ผู้มีบทบาททางฝ่ายสถาบันฯ หลายคนมีความรู้สึกว่าถูกข่มขวัญด้วยพลังทางการเมืองของเขา รวมไปถึงการได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชาวไทยที่อยู่ในแถบชนบท ซึ่งเห็นคุณค่ากับความมุ่งมั่นของเขาที่ต้องการกำจัดความยากจนออกไป

7. (ซี) นายกฯ ทักษิณได้ย้ำถึงการตัดสินใจของเขาที่ขายหุ้นในเครือของบริษัทชินคอร์ปกับบริษัทการลงทุนทามาเสกของประเทศสิงค์โปร์นั้น เป็นจุดหันเหอันสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับxxxxxxxxxx นายกฯ ทักษิณอ้างว่า ตัวเขาได้บอกกับxxxxxxxxxx เกี่ยวกับการขายในการxxxxxครั้งหนึ่งก่อนที่จะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการกับทางสาธารณชน เมื่อxxxxxxxxxได้ยินว่า นายกฯ ทักษิณจะขายหุ้นในเครือข่ายของตนให้กับนิติบุคคลต่างชาตินั้น มีรายงานต่อว่า xxxxxxxxxxx ได้xxxxxมีxxxxอาการเกร็งเครียดอย่างเห็นได้ชัดและxxxxถามอีกว่า “ขายให้กับใคร?” นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาไม่ได้ยินคำถามของxxxxxxxxxได้อย่างชัดเจน จึงได้ถามท่านกลับไปว่า “ขอประทานโทษครับ?” จากนั้น xxxxxxxxxxได้xxxxxและกล่าวซ้ำโดยคำถามเดิมด้วยxxxxเสียงอันดังอีกครั้งหนึ่ง นายกฯ ทักษิณกล่าวกับเอกอัครราชฑูตว่า เขาไม่เคยเห็นxxxxxxxxอาการกิริยาของxxxxxxxxxxเป็นเช่นนี้มาก่อนเลย นายกฯ ทักษิณกล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ทางฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของเขาได้ทำการรุกอย่างมีประสิทธิภาพ; ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เริ่มรับนำเอาผู้สนับสนุนอย่างจริงจังเข้ามาร่วมในการชุมนุมต่างๆ รวมถึงได้รับเงินสนับสนุนมากพอใช้ตามที่ฝ่ายตนปรารถนา และรวมไปถึงการสร้างข่าวมดเท็จในเรื่องการขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการปูทางให้เกิดเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวางต่อการก่อการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549

8. (ซี) นายกฯ ทักษิณ ได้เสริมต่อไปอีกว่า เขาเชื่อว่า เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับxxxxxxxxxxx อย่างไรก็ตาม xxxxxxxxxxได้xxxxกล่าวกับนายกฯ ทักษิณ (หลังจากการรัฐประหาร ซึ่งไม่ระบุวันเวลาใดๆ ) ว่า xxxxxxไม่สามารถที่จะพบกับนายกฯ ทักษิณได้เป็นเวลาอีกนาน เพราะว่า xxxxxxxxxx xxxงมีความเป็นปรปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่

ข้อคิดเห็น
——————————————

9. (ซี) ประเด็นที่สำคัญหลายเรื่องตามแผนการที่นายกฯ ทักษิณได้สรุปความให้ฟังนั้น ยังไม่มีความชัดเจนกับเราเท่าไรนัก การอพภัยโทษที่นายกฯ ทักษิณได้พูดถึงนั้น จะเกิดขึ้นโดยการออกกฎหมายจากทางฝ่ายรัฐสภาฯ หรือจะเป็นพระราชบัญญัติ? มันจะครอบคลุมไปถึงอดีตสมาชิกผู้บริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 110 คน รวมไปถึงตัวนายกฯ ทักษิณ ซึ่งถูกถอดถอนออกไปจากสิทธิทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2550 หรือไม่ (ตามหลักฐานอ้างอิง ชุด ดี)? บางทีในเรื่องของการข่มขู่ต่อการยุบพรรคซึ่งยังคงมีอยู่นั้น (ตามหลักฐานอ้างอิงชุด ซี) มันจะล้มเลิกไปหรือไม่? บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในทางใดที่สามารถก่อให้เกิดกระบวนการแปรญัตติขึ้นมาได้? แต่กระนั้นก็ตาม ถ้าแผนการรวมไปถึงรายละเอียดแต่ละข้อนั้น ได้กลายเป็นจริงขึ้นมา มันอาจจะเปิดช่องว่างที่มีคุณค่าต่อการปฎิบัติงานให้ดำเนินต่อไปและช่วยสร้างบรรยากาศที่มีแต่การปะทุกันอย่างเผ็ดร้อนและมีสภาพการขัดแย้งทางการเมืองอย่างสูงนั้นให้สงบลงมาได้

10. (ซี) อย่างไรก็ตาม เรายังมีข้อกังขาอยู่ว่า ในเรื่องการพิพาทซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันนานระหว่างฝ่ายของนายกฯ ทักษิณ กับฝ่ายของสถาบันฯ จะกระทำกันอย่างจริงใจหรือคาดหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำเช่นเดียวกัน เราขอบันทึกว่า ฝ่ายนายกฯ ทักษิณได้กล่าวอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกต่อทางสาธารณชนแล้วว่า ตัวเขาจะถอนตัวออกไปจากทางการเมือง แต่มันยังปรากฎให้เห็นอยู่ว่า ตัวนายกฯ ทักษิณได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการการบริหารของรัฐบาลอย่างลึกทีเดียว มันจะเป็นเรื่องที่ดูเหมือนน่าแปลกมาก ถ้านักการเมืองของประเทศไทยจะขอหยุดการปรึกษาหารือกับนายกฯ ทักษิณ หรือไม่ก็ ไปขอร้องให้นายกฯ ทักษิณทำการช่วยเหลือทางด้านการเงิน และพยายามที่จะนำดึงเอาการสนับสนุนของนายกฯ ทักษิณ ซึ่งเป็นที่นิยมนั้น มาใช้เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา (นักการเมือง) เอง และถ้านายกฯ ทักษิณได้รับการอภัยโทษและทรัพย์สินเงินทุนของเขาได้ถูกปล่อยคืนออกมาแล้ว มันก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่า ทางฝ่ายสถาบันฯ จะมีความแน่ใจอย่างไรว่าตัวนายกฯ ทักษิณจะปฎิบัติตามเงื่อนไขที่เขาได้ทำการต่อรองไว้แล้ว

เอกอัครราชฑูตจอห์น

-----------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:

เมื่ออ่านวิกิลีกค์ฉบับนี้ ท่านจะได้เห็นถึงความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งนายกฯ ทักษิณ ได้กล่าวถึงเรื่อง การปรองดองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ แล้วขอให้ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบกับสถานการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กล่าวถึง รัฐบาลเพื่อการสมานฉันท์แห่งชาติเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ผิดอะไรกับเรื่องการขอร้องให้ประเทศชาติเกิดความสามัคคีเท่าไร

เมื่อเรื่องรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติไม่เป็นที่ถูกใจและเลิกล้มความคิดออกไป จึงมีเรื่องเกี่ยวกับทางตุลาการภิวัฒน์เกิดขึ้นในการล้มล้างรัฐบาลซึ่งมาจากประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งต่อมา ได้ส่งผลมาถึงการสังหารประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในเวลา 3 ปีต่อมา

ถึงแม้ว่า นายกฯ ทักษิณได้สร้างผลประโยชน์หลายอย่างให้กับองค์กรเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ในท้ายที่สุด ความโลภของตัวบุคคลซึ่งเป็นกิเลสที่ไม่มีการหยุดยั้งว่า เมื่อไรจะเพียงพอเสียที มันก็มีแต่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ จะมาคิดถึงบุญคุณเก่าๆ ที่นายกฯ ทักษิณทำไว้ ก็จงคิดเสียว่า ลืมเสียเหอะ เพราะมันไม่สามารถช่วยอะไรท่านได้เลย

จากบทความนี้ สรุปได้ว่า:

1. นายกฯ ทักษิณ ทราบดีว่า ศาลจะต้องตัดสินว่าตนเองมีความผิดเป็นแน่ ท่านเลยคิดว่า ควรจะเป็นผู้ติดต่อกับเอกอัครราชฑูตจอห์นเอง ในการพบกันสองต่อสอง เพื่อเปิดเผยเรื่องสำคัญๆ ทุกอย่างให้ทางฝ่ายอเมริกันเขาได้ทราบ ดิฉันเชื่อแน่ว่า คำพูดของท่านนั้น จะต้องเป็นความจริง ไม่มีเรื่องโกหกมดเท็จอะไร เพราะสถานภาพของท่านในเวลานั้น ท่านเป็นรองอยู่ และท่านต้องขอความร่วมมือจากต่างประเทศด้วย ประกอบกับว่า ท่านเป็นผู้นัดพบเอกอัครราชฑูตจอห์นเอง

2. นายกฯ ทักษิณมีแผนการลับในเรื่อง "การเดินทางออกไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน" อยู่แล้ว เพราะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ฝ่ายกฎหมายของท่านได้ส่งเรื่องให้กับศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศคือ ประเทศจีนและประเทศอังกฤษ อีกหนึ่งเดือนต่อมาคือ 23 กรกฎาคม 2551 ท่านเข้าไปพบกับเอกอัครราชฑูตจอห์น (แบบลับเฉพาะ สองต่อสอง four eyed meeting หรือ ตาสองคู่เท่านั้น) และเปรยให้ฟังถึงเรื่องการอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานานตามที่วิกิลีกค์ฉบับนี้ได้กล่าว

3. แล้วแปลกไหมคะ ว่า วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ภายหลังจากท่านเข้าพบเอกอัครราชฑูตจอห์นเพียงหนึ่งอาทิตย์ องค์คณะผู้พิพากษาฯ คดีที่ดินรัชดาเขาได้อนุญาตให้ท่านเดินทางออกไปประเทศจีนได้ โดยสร้างเงื่อนไขว่า ท่านจะต้องกลับมารายงานตัวในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 เรื่องนี้ เป็นการคอนเฟิริ์มเรียบร้อยว่า ท่านทราบอยู่แล้วว่า ท่านจะต้องออกเดินทางไปได้แน่ๆ

4. ตามที่เราได้เห็นกันคือ นายกฯ ทักษิณ ได้เดินทางไปที่พิธีการเปิดกีฬาโอลิมปิคที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน (8 สิงหาคม 2551) ซี่งการเดินทางออกจากประเทศไทยในครั้งนั้น เป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เห็นท่านอยู่บนผืนแผ่นดินประเทศไทย (ตามกำหนดการนั้น ท่านบินไปประเทศจีนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 - 10 สิงหาคม 2551 และไปประเทศอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ถึง 20 สิงหาคม 2551)

5. ข้อตกลงและเงื่อนไขระหว่างฝ่ายท่านกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งวางไว้ก่อนหน้านี้ ท่านคงรู้ว่า เขา "เบี้ยว" โดยการนำเคสของท่านขึ้นศาล และพยายามจะกำจัดท่านโดยให้ท่านติดคุก รวมไปถึงการยึดทรัพย์สินทุกอย่างของท่าน แทนที่ท่านจะอยู่นอกประเทศแบบสงบๆ กลายเป็นว่า มีการไล่ล่าเกิดขึ้นแทน ซึ่งต่างกันกับที่หมากของฝ่ายอำมาตย์ได้วางไว้ตามข้อตกลงอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนคล้ายคลึงกันมากในปัจจุบันคือ การที่นายกฯ ทักษิณ ยัง"มีส่วนร่วม" ในกิจการของรัฐบาลบริหารประเทศอยู่ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาล ซึ่งทำให้ภาพพจน์ของรัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดไป ซึ่งไม่แตกต่างอะไรกับรัฐบาลมาร์คซึ่งมีฝ่ายกองทัพเชิดอำนาจอยู่เบื้องหลัง

ตามที่วิเคราะห์มาหลายเรื่อง สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเชื่อใจในอำนาจตุลาการของประเทศไทยเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของท่านนายกฯ ทักษิณ หรือฝ่ายของอำมาตย์ คดีความที่มีการขัดแย้งต่างๆ นี้ มันจะเป็นเรื่องที่ดีมาก ถ้ารัฐบาลของประเทศไทย ยอมรับอำนาจจากศาลอาญาระหว่างประเทศให้เป็นผู้ตัดสินคดีต่างๆ เหล่านี้เสีย

ดิฉันอยากจะให้ท่านเป็นผู้นำในเรื่อง การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศเสียทีในการตัดสินคดีสังหารหมู่ประชาชนในประเทศไทย ไม่ดีกว่าหรือ?

ถ้าประเทศไทยจะยอมให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศทำการตัดสินสองคดี คือ คดีเรื่องราชประสงค์ กับคดีที่เกรือเซะ เพราะมันเป็นเรื่องของการล้างเผ่าพันธุ์ทั้งสองอย่าง จะเป็นเรื่องที่ยุติธรรมที่สุด เพราะผู้บริสุทธิ์จะเป็นผู้ปราศจากความผิด และมีการพิจารณาหลักฐานต่างๆ ตามที่มีอยู่ บุคคลที่กระทำความผิด จะต้องรับโทษตามกระบวนการกฎหมาย

การยอมรับอำนาจจากศาลอาญาระหว่างประเทศให้เป็นผู้ตัดสินคดีต่างๆ เหล่านี้เสีย เพราะเป็นองค์กรเดียวที่ทุกฝ่ายในโลกเขายอมรับในเรื่องความยุติธรรมที่ไม่มีใครสั่งได้

เรื่องที่อ่านจากวิกิลีกค์นั้น ทำให้ดิฉันแปลกใจที่สุดว่า ทำไมท่านนายกฯ ทักษิณ ไม่คิดจะต่อสู้เพื่อตัวท่านเองเลยหรือ? ท่านไม่ได้ผิดอะไร จะต้องมีการอภัยโทษ ท่านยอมอยู่ต่างประเทศเพื่อเขาจะได้ปล่อยทรัพย์สินคืนกลับมาให้ท่านแล้วหวังว่า ท่านจะเลิกยุ่งกับการเมือง สิ่งที่ประชาชนเขาต้องการที่สุดคือ ความยุติธรรมและหยุดระบบสองมาตรฐาน เมื่อท่านไม่ต่อสู้กับความยุติธรรมแล้ว มันทำลายกำลังขวัญกำลังใจกับประชาชนผู้ที่ต่อสู้ในเรื่องนี้อยู่มากทีเดียว

ลองมาคิดถึงเรื่องปัจจุบัน ท่านไม่ต้องการคิดจะต่อสู้ แต่เรียกร้องให้ทุกๆ คนสละ (แม้แต่ชีวิต)เพื่อประเทศไทยจะเดินหน้าไปได้ ดิฉันขอบอกตรงๆ ว่า เรื่องนี้ มันเป็นไปไม่ได้ในประเทศที่มีการเมืองแบ่งแยกอย่างสุดขั้ว และเรื่องที่แปลกคือ กลุ่มที่ได้รับรองจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ กลับกลายเป็นผู้ยื่นมือขอให้อีกฝ่ายทำการปรองดอง

บทเรียนในเรื่องนี้คือว่า แม้เรื่องความสามัคคีปรองดองจะเป็นผลสำเร็จ ตัวการใหญ่จะเริ่มนับหนึ่งและสร้างแผนการณ์อุบาทก์ขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าสัญญา, ข้อตกลง หรือเงื่อนไข จะทำกันอย่างต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม คนที่เสียผลประโยชน์จะเริ่มก่อเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาอีก จะเอาสัจจะและคำสัตย์ของฝ่ายตนเองมาใช้กับพวกนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ไม่มีทางที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาจะไม่ "นับหนึ่ง" เริ่มต้นแผนชั่วๆ ใหม่

ไม่อยากจะคิดลึกๆ นะคะ ว่า เงื่อนไขต่างๆ นั้น ทั้งฝ่ายท่านและอีกฝ่ายหนึ่ง ได้กระทำการตกลงไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว ฉากต่อไปคือ การเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย รวมไปถึงการออกนิรโทษกรรมให้กับทุกๆ ฝ่าย ซึ่งดูง่ายดีนะคะในการวางแผนในคอมพิวเตอร์

ดิฉันมั่นใจว่า แม้การปรองดองจะเป็นผลสำเร็จ จะต้องมีฝ่ายหนึ่งเริ่มป่วนเมืองขึ้นมาอีกรอบหนึ่งอย่างแน่นอน ไม่เชื่อ ก็รอดูบทต่อไปนะคะ ว่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า.....

บทความจาก Doungchampa Spencer


ต้นฉบับ


08BANGKOK2243 THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON, LIFE ABROAD
leave a comment »

“163172″,”7/23/2008 9:51″,”08BANGKOK2243″,”Embassy Bangkok”,”CONFIDENTIAL”,”07BANGKOK2994|08BANGKOK2091|08BANGKOK2092|08BANGKOK2226″,”VZCZCXRO4017

OO RUEHCHI RUEHCN RUEHDT RUEHHM

DE RUEHBK #2243/01 2050951

ZNY CCCCC ZZH

O 230951Z JUL 08

FM AMEMBASSY BANGKOK

TO RUEHC/SECSTATE WASHDC IMMEDIATE 3792

INFO RUEHZS/ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS PRIORITY

RUEHBY/AMEMBASSY CANBERRA PRIORITY 8913

RUEHKO/AMEMBASSY TOKYO PRIORITY 0936

RUEHBJ/AMEMBASSY BEIJING PRIORITY 6185

RUEHLO/AMEMBASSY LONDON PRIORITY 1704

RUEHCHI/AMCONSUL CHIANG MAI PRIORITY 5488

RUEAIIA/CIA WASHINGTON DC PRIORITY

RHEHNSC/NSC WASHDC PRIORITY

RHHMUNA/CDR USPACOM HONOLULU HI PRIORITY

RHEFDIA/DIA WASHDC PRIORITY

RHHMUNA/USCINCPAC HONOLULU HI PRIORITY

RUEKJCS/SECDEF WASHINGTON DC PRIORITY”,”C O N F I D E N T I A L SECTION 01 OF 02 BANGKOK 002243



SIPDIS



NSC FOR PHU



E.O. 12958: DECL: 07/23/2018

TAGS: PGOV, PHUM, KDEM, KJUS, TH

SUBJECT: THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT,

PARDON, LIFE ABROAD



REF: A. BANGKOK 2226 (NO CLEAR PATH TO STABILITY)

B. BANGKOK 2092 (THAKSIN\’S TEAM PESSIMISTIC)

C. BANGKOK 2091 (COURT RULINGS CLOUD FUTURE)

D. 07 BANGKOK 2994 (THAI RAK THAI DISSOLVED)



BANGKOK 00002243 001.2 OF 002



Classified By: Ambassador Eric G. John, reason: 1.4 (b) and (d).



SUMMARY

——

1. (C) Former Prime Minister Thaksin told the Ambassador in a

four-eyes meeting on July 23 that Prime Minister Samak had

received royal approval to form a government of national

unity in order to heal Thailand\’s political rifts. Thaksin

estimated this government, incorporating all political

parties, would likely last for a year and undertake

constitutional reform. In the near future, as part of the

deal, political figures, including Thaksin, would receive a

pardon; Thaksin would regain control over his frozen assets,

and he would give up politics and reside primarily abroad.

Thaksin also discussed his relationship with the *******

and *******. The concept of a national unity government

may help calm the current volatile and highly adversarial

political environment, but we are skeptical that the

arrangement that Thaksin outlined will truly resolve

fundamental conflicts between major interest groups in

Thailand. End Summary.


NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON:

A PATH TO STABILITY IN THAI POLITICS?

————————————-

2. (C) Former Prime Minister Thaksin Shinawatra called on the

Ambassador at his Residence on July 23 for a four-eyes

discussion. Thaksin told the Ambassador he had requested the

meeting in part to bid farewell, as he anticipated he would

soon spend most of his time outside of Thailand. His

departure overseas would be part of an elaborate solution

intended to provide stability in Thai politics.



3. (C) Thaksin related that ******* had received Prime

Minister Samak Sundaravej for an audience on July 22. At

that audience, Samak had received approval for the creation

of a government of national unity, which would entail each

party holding positions in the cabinet in proportion to its

number of seats in the House of Representatives. Thaksin

appeared to presume — but not to consider it certain — that

Samak would remain as Prime Minister. The Democrat Party –

the second largest, currently the sole opposition party –

would receive some Deputy Prime Minister positions, as well

as Ministerial portfolios. Thaksin estimated the new

government of national unity would last up to one year;

during that time, the parliament would undertake a

constitutional reform process.


4. (C) Soon after the government\’s formation, Thaksin added,

a wide-ranging pardon would be issued. This was necessary in

part because Thaksin and his wife would be convicted in

ongoing court cases, most notably the \”abuse of power\” case

(ref B). Thaksin attributed this upcoming conviction to the

judiciary\’s bias against him, alleging that ******* had

conveyed to at least one Constitutional Court Justice during

a royal audience that the Court should, in Thaksin\’s words,

to do whatever was necessary to eliminate Thaksin.


5. (C) The upcoming pardon would allow Thaksin to regain

control over his frozen assets, Thaksin said. In return,

however, he would have to renounce politics forever and focus

instead on his business activities, while residing primarily

abroad. Thaksin told the Ambassador he was willing to abide

by these conditions. He added that, before his departure

overseas, he hoped that the ******* might receive him

for separate audiences; he said he would, on those occasions,

make sizeable donations to each of them. (Note: We presume

these donations would be directed toward foundations, not to

the*******per se. End Note.)


BACKGROUND ON THAKSIN\’S TIES TO THE PALACE


BANGKOK 00002243 002.2 OF 002

——————————————

6. (C) Thaksin reflected that he had enjoyed a good

relationship with the *** during his first term as Prime

Minister. The *** was particularly grateful that Thaksin

had taken steps to improve Crown Property Bureau (CPB)

management of its assets, significantly increasing the CPB\’s

wealth. *** g\’s attitude toward him soured after his Thai

Rak Thai party won a supermajority (377 out of 500 seats) in

the 2005 election. Thaksin said many figures at the palace

felt threatened by his political power and his popularity

with rural Thais, who appreciated his commitment to

eradicating poverty.


7. (C) Thaksin cited his decision to sell his Shin

Corporation conglomerate to Singaporean investment firm

Temasek as a key turning point in his relationship with the

***. Thaksin claimed he told the *** about the sale in an

audience prior to a public announcement. On hearing that

Thaksin would sell the conglomerate to a foreign entity, the

*** reportedly stiffened visibly and asked, \”To whom?\”

Thaksin told the Ambassador he had not heard the ***\’s

question clearly and asked, \”Pardon?\” The *** then erupted,

loudly and angrily repeating his question. Thaksin told the

Ambassador he had never before seen the *** behave thusly.

After this incident, Thaksin said, his political opponents

effectively went on the offensive; the People\’s Alliance for

Democracy drew substantially more supporters to rallies, had

more funding at its disposal, and effectively manipulated the

issue of the Shin Corp sale, paving the way for popular

acceptance of the 2006 coup d\’etat.


8. (C) Thaksin added that he believed that he still had a

good relationship with ******* The

*******, however, had explained to Thaksin (at an

unspecified time post-coup) that he would be unable to meet

with Thaksin for an extended period of time, because of ***

***\’s antipathy toward the former Prime Minister.


COMMENT

——

9. (C) Many key elements of the plan Thaksin outlined remain

unclear to us. Would the pardon of which Thaksin spoke

entail a legislative or royal act? Would it cover the 110

former Thai Rak Thai party executives who, along with

Thaksin, were stripped of their political rights in May 2007

(ref D)? Would the threat of further party dissolutions (ref

C) somehow be lifted? What sort of constitution would an

amendment process produce? Nevertheless, if a plan along

these lines does materialize, it may provide some valuable

breathing room and calm the current volatile and highly

adversarial political environment.


10. (C) We doubt, however, that either side in the

long-running dispute between Thaksin and the Palace will act

in good faith, or expect the other to do so. We note that

Thaksin has already repeatedly pledged publicly that he has

retired from politics, but he appears deeply involved in

governmental affairs. It is nearly inconceivable that Thai

politicians will stop consulting Thaksin, requesting his

financial support, and trying to tap into his popular support

for their own gain. And, if Thaksin is pardoned and has his

funds released, it is unclear how the Palace would ensure

that he upholds his side of the bargain.

JOHN

10 พฤษภาคม 2555

คนคลั่งเจ้าระส่ำหนักกับกระแส "NO มาตรา 112" กรี๊ดลั่น "อยากให้คนไทยในเยอรมัน ยิงกบาลแม่งจริงๆ"

6 พฤษภาคม 2555
โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ

ผู้ประสานกลุ่มแอคชั้นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM)
เริ่มเป็นที่ตอบรับทั้งจากนานาชาติและกลุ่มผู้ใช้เนทเพื่อรณรงค์ประชาธิปไตยและเสรีภาพทั้งหลาย (Social Network) เริ่มรณรงค์แนวร่วมจากโลกไซเบอร์ ประกาศ "Free from Fear - อิสระจากความกลัวมาตรา 112"
อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้พูดถึงการรณรงค์ครั้งนี้ว่า "รณรงค์ NO 112 คราวนีั้ ไม่รู้คุณเล็ก Junya Lek Yimprasert และคุณ @Mongkhon Atthajak ไปสรรหา "นางแบบ" มาจากไหน คนดู มัวแต่โฟกัสที่ "นางแบบ" จน "ลืม" message เรื่อง 112 ไปเลยนะเนี่ย (ฮา) ... ยังมีอีกหลายท่านนะ สนใจตามไปดูที่ fb คุณเล็ก หรือคุณ Mongkhon กันเอาเองเถอะ"

ในขณะที่กระแสตอบรับในกิจกรรมดีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีคนไทยทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศทยอยส่งรูปมาร่วมกิจกรรมเพื่อจัดทำโปสเตอร์แผ่นแรกฉบับคนไทยและมีการแชร์ภาพและการ update ข้อมูลต่อเนื่อง (ดู NO มาตรา 112 ระบาดหนัก แพร่สู้โลกไซเบอร์และที่ประเทศฝรั่งเศส)


ผลจากกิจกรรมรณรงค์ครั้งล่าสุดของแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) โดยการเผยแพร่โปสเตอร์ "ผู้หญิงก้าวหน้าจาก 50 ประเทศทั่วโลกชูป้าย “NO มาตรา 112″ เรียกร้องไทยยอมรับ “เสรีภาพในการแสดงออก” เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2555 และมีการเผยแพร่ต่อในหลายเวบไซด์ ทำให้เกิดความคลุ้มคลั่งกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในหมู่ผู้ใช้ไซเบอร์คลั่ง เจ้า จับแพะชนแกะเขียนข้อมูลมั่วๆ เกี่ยวกับจรรยา เพื่อเสียบประจาน

นอกจาก คำว่าเลว และคำด่าทอตามปกติของคนคลั่งด้วยภาษาหยาบคาย ยังได้มีการโพสต์ที่คุกคามถึงสวัสดิภาพในชีวิตด้วย ดังภาพข้างล่างที่ว่า "อยากให้คนไทยในเยอรมัน ยิงกบาลแม่งจริงๆ"



คงจำกันได้ว่า แม้แต่เฟซบุ๊คของสถานทูตสหรัฐฯ ยังถูกกลุ่มคนคลั่งเหล่านี้ยังพาพวกไปโจมตีอย่างสาดเสียเทเสียมาแล้ว จนเป็นที่น่าสมเพชเวทนาและขบขันในหมู่คนที่มีเหตุผลว่า คนกลุ่มนี้คลั่งอย่างหนัก ทั้งไล่สถานทูตอเมริกาให้ออกไปจากประเทศไทย อีกทั้งยังถามคำถามสถานทูตอเมริกาแบบลืมคิดว่า "อเมริกา คนไทยหรือเปล่า" จนสถานทูตอเมริกาต้องโพสต์เตือนให้ "งดเว้นการใช้ภาษาที่หยาบคาย รุนแรงหรือขมขู่"

แต่กระนั้น เราก็คงไม่ลุกขึ้นมาพูดถึงพฤติกรรมไร้การควบคุมที่กระทำในนามรักสถาบันฯ ด้วยการขี่มาตรา 112 ของกลุ่มคนคลั่งเจ้าไม่ได้ ที่จำนวนไม่น้อยเป็นเยาวชนอนาคตของชาติ . . เป็นคนชั้นกลางเมืองหลวง คนเดินสยามพารากอน ชอบกิน KFC ใช้เครื่องสำอางค์นำเข้าราคาแพง ถือกระเป๋า LV ใบละหมื่นใบละแสน เฝ้าตามกระแสแฟชั่นตะวันตกอย่างไม่ให้ขาดตอนแม้แต่อาทิตย์เดียว

แต่คนกลุ่มนี้กลับเป็นคนที่ทนไม่ได้แม้แต่น้อยที่จะได้ฟังเสียงจากนานาชาติ - ที่นำกระแสการบริโภคของพวกเขา - ยามที่ติติงไทยในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตรา 112 กับนักคิด นักเขียน และนักสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก นับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา

ยิ่งกว่านี้มาตรา 112 เป็นหนึ่งในข้อกฎหมายที่นานาชาติพากันเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกหรือทบทวนมาอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านจากทั้งสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ EU องค์กรสิทธิมนุษยชนชนที่มีชื่อเสียงในโลกเกือบทุกองค์กร และนักวิชาการมากมาย

คนคลั่งเจ้ายังคิดและเชื่ออยู่หรือว่า "แม้มีปัญหาในเมืองไทย แต่ถ้ายังสามารถปิดหู ปิดตา ปิดปากชาวต่างชาติได้ต่อไปว่าประเทศไทยไม่มีปัญหา ทุกคนสบายดี และทุกคนในประเทศไทยรักสถาบันฯ ทุกคนยอมก้มหัวด้วยความรักด้วยความเต็มใจ" พวกเขาก็จะยังคงสร้างความกร่าง ดำรงความเป็นอภิสิทธิชน ด้วยการคุกคามใครก็ได้ ตามที่เชื่อ อย่างไม่ต้องคิดถึงเหตุผล ไร้มารยาท และเลวทรามแค่ไหนก็ได้ ด้วยการอ้างว่ารักสถาบันฯ


การโจมตีจรรยา ยิ้มประเสริฐ 

พวกเขารู้ว่า คนต่างชาติไม่ได้ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่เมืองไทย และร่วมประกาศว่าเรารู้ว่าต้นตอปัญหาเมืองไทย คนคลั่งเจ้าจึงคลั่งเป็นฟืนเป็นไฟ จึงมีการโจมตี จรรยา ยิ้มประเสริฐ ผู้ประสานแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดทำโปสเตอร์ "NO มาตรา 112 เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก" แผ่นนี้ ด้วยท่าทีที่รุนแรง หยาบคาย ถึงขั้นขู่ฆ่า กันเลยทีเดียว

โดยมีคนมารับลูกว่า "เพื่อนผมคน เยอรมัน รักในหลวงมาก เด๋วฝากมันจัดหนักให้" 

เพจไม่ชอบยิ่งลักษณ์เพื่อประชาชนที่่กักกันตัวเอง "Dislike Yingluck for Concentration Citizen"

ทั้งนี้ เราไม่มีเวลาตามเก็บข้อมูลเสียบประจานทุกเพจ  จึงได้แต่ตามไปที่ต้นต่อที่เพจ  "Dislike Yingluck for Concentration Citizen"  หรือจะแปลไทยแบบได้ว่า "ไม่ชอบยิ่งลักษณ์เพื่อประชาชนที่กักกันตัวเอง" 

 

อืม! สงสัยคนตั้งชื่อเพจนี่ฝักใฝ่ลัทธินาซี เพราะ ชื่อเพจนี่ทำให้นึกถึง "Concentration Camps" ที่ฮิตเลอร์สร้างไว้ทั่วในสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อกักกันและสังหารชาวยิว จนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ผลพวงจากฮิตเลอร์และสงครามโลกครั้งที่สองคือชีวิตของประชากรโลกกว่า 40 ล้านคน เพราะความคลั่งอำนาจของคนคนเดียว!

* * * * * *

IPAD บุกหน้าวอลล์จรรยา ขู่แจ้งจับมาตรา 112



แม้แต่ในหน้าวอลล์ของจรรยา ก็ถูกคนคลั่งเข้ามาใช้ภาษาหยาบคายบ้างเป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 112 จนต้องบล๊อคบางคนไปเช่นกัน

ล่าสุดก็ถูกนายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือ IPAD ที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เป็นคนเดียวที่ได้ดำเนินเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรา 112 ร่วม 30 คดี กับนักวิจารณ์สังคม อาจารย์และสื่อมวลชนที่เป็นที่รู้จักดี รวมทั้ง จีรนุช  เปรมชัยพร (ประชาไท) สุรพศ ทวีีศักดิ์ (อาจารย์) และ ประวิตร โรจนพฤกษ์ (บรรณาธิการอาวุโส เดอะเนชั่น) และจรรยา ยิ้มประเสริฐ

ท่าที่ที่อวดเบ่ง และใช้ภาษาที่หยาบคาย "อี" "ไอ้"​ ด่ากราดผู้คนด้วยคำว่า "กะหรี่" "ควย" "หี" "ตุ๊ด" ตลอดเวลา แถมยังอวดเบ่งอยู่เนืองๆ อ้างว่าได้รับคำแนะนำจากตำรวจที่ สภว. ร้อยเอ็ด รวมทั้งให้ชื่อตำรวจมาด้วย อีกทั้งยังพาดพิงถึงสำนักพระราชวังอีกต่างหาก 

นี่คือพฤติกรรมของคนที่อ้างรักในหลวงและฟ้องร้องนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และสื่อมวลชนถึง 30 คดี

น่าสังเวชใจ ว่าสังคมไทยปล่อยให้คนบ้าคลั่งคนหนึ่ง ที่ไม่มีวุฒิภาวะและเหตุผลอย่างสิ้นเชิง ใช้กลไกทางกฎหมายมาตรา 112 ที่เปิดช่องโหว่ไว้มากมาย และโทษรุนแรงจนน่าตระหนก เช่นนายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือ ฉายา IPAD "ใช้ฟ้องร้องใครก็ได้ กี่คดีก็ได้ ที่สถานีตำรวจใดก็ได้" และยังใช้ช่องโหว่กฎหมายนี้ ไปเที่ยวระร่าน หยาบคายกับคนทั่วไซเบอร์ จนเป็นเป็นเอือมระอาของผู้คน ได้มากมายขนาดนี้ 

IPAD ยังเอ่ยอ้างถึงหลายคน


... อีห่าอ้วน จีนุ๊ด ก็เหมือนกัน 30 พค. สมมติ ว่ารอด
บอกมันรออีก 30 กว่าคดี ของกู วิพุธ คนเดียว เกินสิบแล้ว
แต่กูว่า 30 พค. ไม่รอดแน่อีเหี้ยอ้วนนั่นน่ะ
อย่าเชื่อ สมสาก มากนัก ไอ้สัดนั่น แค่แปล ban for men เอ๊ย! ban for life ยังแปลผิดเลย
ใครเชื่อสากหงอก for men ก็ควายดีๆ นี่เอง
อีกะหรี่ จรรยา กูไม่ได้ อวดเบ่ง แต่กูลงมือจริง
เอางี้ คดีมึง ร้อยเวร ชื่อ พตท. บรรเจิด รายละเอียดที่เหลือไปหาเอาเอง
อยากรู้อะไรถามเลย ว่าตอนนี้มึงโดนแล้ว 1 คีด จริงหรือไม่
เพราะกูไม่เคยขู่
ปล. ฝากให้ประวิตร โรจน ร้อยเวร ชื่อ รตท. เมธี ให้มันไปถาม รตท เมธี ดูได้ว่าตอนนี้ ร้อยเวร เหฤ็นสมควรสั่งฟ้องแล้ว
อันนี้ดิ้ ของจริง

* * * * * *

สำหรับท่านที่ชอบอ้างว่ามาตรา 112 ต้องคงไว้ เพราะสถาบันฯ ฟ้องร้องเองไม่ได้

ขอตอบว่า ไม่มีกฎหมายข้อใดเลย "ที่ห้ามสถาบันฯ ดำเนินการฟ้องร้องใคร"

แต่ที่สถาบันฯ ไม่ต้องฟ้องเอง เพราะกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรา 112 (และตามมาด้วย พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550) เปิดกระทั่งให้ "ใครก็ได้" ฟ้อง "ใครก็ได้" ทั่วประเทศ  "ที่สถานีตำรวจไหน"ก็ได้ "จะกี่คดีก็ได้" (IPAD คนเดียวล่อไปซะกว่า 30 คดี) โดยไม่ต้องมีหลักฐานมากมายอะไร นี่ไม่เรียกว่าให้อภิิสิทธิกับทั้งสถาบันฯ และคนรักสถาบันฯ จนเกินขอบเขตจนกลายเป็นการคุกคามเสรีภาพประชาชนทั้งประเทศหรอกหรือ?

โดยเฉพาะถ้าบอกว่าทุกคนคือหนึ่งคนเท่ากัน แต่คนทั้งประเทศไม่สามารถฟ้องสถาบันฯ ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันฯ โดยเฉพาะกษัตริย์อยู่ภายได้การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8
แต่คนคิดต่างทั้งประเทศถูกฟ้องหมิ่นสถาบันฯ จากใครก็ได้ ไม่ว่าที่ไหน กี่คดีก็ได้ ไม่ว่าจริงหรือเท็จ และตำรวจก็ต้องรับฟ้องสถานเดียว และอัยการก็ต้องส่งฟ้องสถานเดียวภายใต้มาตรา 112

นี่ไม่ใช่ปัญหาหรือ? นี่ไม่ถือเป็นการคุกคามเสรีภาพประชาชนหรือ?
นอกจากแค่ทำตามหน้าที่ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้ว รัฐบาลตั้งแต่สมัยอภิสิทธิยังตั้งวอรูมหลายคณะ ที่ DSI หนึ่งคณะ และที่ MICT อีกหลายคณะ รวมทั้งลูกเสือไซเบอร์ ที่ไม่ใช่แค่ทำการตามจับ และปิดกั้นเท่านั้น ยังมีกระบวนการล่อซื่อที่ไม่ต่างจากการล่อซื้อจากผู้ค้ายาเสพติด (ด้วยการหลอกมาเป็นเพื่อนชวนคุยเรื่องสถาบันเพื่อเก็บหลักฐาน) แล้วนำกำลังไปบุกจับตัว

เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาก็มีชาวไอทีถูกสอยเพราะกระบวนการล่อซื้อ   นี่เรียกได้ว่า ไม่ใช่แค่การทำตามหน้าที่ธรรมดา แต่เป็นกระบวนการปราบจับด้วยวิธีคิดเดียวกันกับการจัดการกับอาชญากรค้ายาเสพติด
  คนตั้งคำถามสถาบันฯ ไม่ใช่ผู้ร้าย ไม่ใช่ผู้ค้าหรือผู้เสพยาบ้า ไม่ใช่อาชญากร แต่รัฐมองพวกเขา พวกเราเป็นอาชญากร เพราะทำอาชญากรรมทางความคิด

รัฐบาลที่ไม่เคารพผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกตัวเองเข้ามาบริหารบ้านเมือง และโหดร้ายกับผู้ลงคะแนนเสียงของตัวเอง เท่านี้ ไม่มีอีกแล้วในประเทศอารยะ!
 ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ยังทำงานอยู่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ภายใต้การกำกับของ รมต. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ และรมต. เฉลิม อยู่บำรุง

ด้วยเหตุนี้  ถึงแม้ว่าจะถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 จริงตามคำขู่ของ IPAD  จรรยา ได้ประกาศแล้วว่า จะไม่สู้กับ 112 ว่าตัวเองละเมิดหรือไม่ละเมิด 112 หรือสถาบันกษัตริย์ แต่จะสู้ว่า 112 และ มาตรา 8 ละเมิดคำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยให้สัตยาบันเมื่อปี 2491 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ไทยรับรอง . .
เพราะทุกสิ่ิงที่ได้ทำมา ทั้งงานเขียนและงานรณรงค์ต่างๆ จรรยาได้กระทำ โดยไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  แต่เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกและความยุติธรรมในประเทศไทย อีกทั้งยังได้ดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายและแผนกิจกรรมของแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) ที่เป็นองค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย ที่คนไทยและนานาชาติรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้  
* * * * * *

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นหัวใจของมนุษย์

 
การนำเอาตัวอย่างคำด่าทอ และข่มขู่เหล่านี้มาให้ดูกัน เพื่อทำให้สังคมไทยได้ร่วมกันฉุกคิดว่า จะยอมให้การคุกคามคนอื่นอย่างเลวทรามเช่นนี้ กระทำกันได้ต่อไปโดยไม่มีการติ ติง เพราะคนกลุ่มนี้อ้างว่าทำไปเพราะรักในหลวงกันได้ต่อไปหรือ  การอ้างแบบนี้ โดยไม่ต้องทำตัวให้เป็นสุภาพชนกลับยิ่งจะเป็นการทำร้ายซึ่งภาพลักษณ์ของสถาบันฯ มิใช่หรือ?

เราคงต้องมาร่วมเตือนสติกันและกันในสังคมไทยบ้างว่า "ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นอะไรก็ตาม ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์"  สังคมก็ควรผ่อนปรน ปล่อยให้มีการโต้เถียงกันด้วยเหตุด้วยผล อย่างเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของมนุษย์แต่ละคน 

และต้องลุกมาช่วยกันปรามพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ของพวกลัทธินาซีใหม่ทั้งหลาย ที่ชอบใช้ท่วงทำนอง และภาษา ที่นอกจากเหยียดหยามความเป็นมนุษย์แล้ว ยังเต็มไปด้วยคำข่มขู่ คำอาฆาตมาดร้าย และการเสียดสีทางเพศที่ไม่เป็นเรื่องจริงแม้แต่น้อย อาทิ "พวกนี้กลับมาโดนกระที้บแน่นอน"

ในทางตรงกันข้าม น่าเศร้าใจที่นอกจากไม่มีการห้ามปราม แล้ว ผู้ทำหน้าที่แอดมินของเพจคลั่งเจ้าทั้งหลาย จำนวนไม่น้อย อาทิ ในเพจที่ยกมาให้ดูนี้ ยังได้แสดงอาการยุยงต่อด้วย โดยไม่มีการห้ามปรามให้คนใช้สติและเหตุผล 
 * * * * * *

ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันบนความหลากหลายเถิด

คนไทยจำเป็นจะต้องเข้าใจว่า ประเทศไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งมีพื้นที่กว้างใหญ่พอสมควรกว่า ห้าแสนกว่าตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 78 จังหวัด (ร่วมหกหมื่นกว่าตำบล)  มีประชากร 66 ล้านคน  ที่มาจากกว่า 40 ชนเผ่า และมีหลายศาสนาและความเชื่อ

หรือ จะเรียกว่ามี 66 ล้านคน  66 ล้านปัญหาก็น่าจะได้ . .ในความหลากหลายและกว้างใหญ่นี้
  •  สังคมไทยจะให้ทุกคนคิดเหมือนกัน ทำอะไรเหมือนกัน และไม่ให้ทางเลือกคนคิดต่างเลยหรือ?
  •  จะไม่ได้ประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในการนำพาประเทศชาติสู่อนาคตที่ศิวิไลซ์บ้างเลยหรือ?
  • จะไม่ยอมให้เสรีภาพในการแสดงออก และแสดงความคิดเห็น ในทุกๆ ด้าน ด้วยเหตุด้วยผลกับพวกเขา /พวกเรา เลยละหรือ?
  •  จะ ต้องปล่อยให้ประเทศถูกลากลงสู่ความสุดโต่งและหยาบคายและโหดร้ายต่อกันไปเช่น นี้อีกนานแค่ไหน เพราะคิดไม่เหมือนกันเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์?
ประเทศส่วนใหญ่ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์  โดยเฉพาะประเทศที่เป็นอารยะและร่ำรวย มีการทำโพลกันมาโดยตลอดว่า ประชาชนต้องการหรือไม่ต้องการสถาบันฯ ทั้งนี้คนต้องการฯ และไม่ต้องการฯ ต่างก็อยู่กันได้  ไม่มีใครลุกขึ้นมาขู่ฆ่า หรือแจ้งตำรวจจับอีกฝ่ายเข้าคุกอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีเหตุผล  เพราะไม่รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นที่ประเทศไทย

ทำไมเมืองไทย จึงเป็นปัญหามากนัก กับแค่การแก้กฎหมายมาตราเดียวเช่นมาตรา 112  เพื่อทำให้คนคลั่งเช่น IPAD และคนที่มีพฤติกรรมที่นำมาให้เห็นข้างบน ไม่สามารถใช้กฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ตามอำเภอใจ เพื่อจะได้เผยความเป็นนาซีของตัวเองได้ภายใต้ร่มเงาของมาตรานี้ 

เอาเข้าจริง กฎหมายมาตรา 112 มีไว้เพื่อคุ้มครองคนคลั่งและฉกฉวยประโยชน์จากการรักหรืออ้างว่ารักสถาบันฯ มากกว่าคุ้มครองสถาบันเอง และถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป คนที่ทำลายสถาบันฯ ไม่ใช่ใครหรอก ก็พวกท่านทั้งหลายนี่แหล่ะ ที่อ้างกันเหลือเกินว่ารักสถาบันฯ


***********
ข้อมูลเพิ่มเติม
NO มาตรา 112 ระบาดหนัก แพร่สู้โลกไซเบอร์และที่ประเทศฝรั่งเศส
เกี่ยวกับ แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย(ACT4DEM)
ประวัติและผลงาน จรรยา ยิ้มประเสริฐ 


บทความจาก thaienews

วิกิลีคส์ : หากรัฐบาลไทยเป็นระบอบเซ็นเซอร์ ก็เจอดีจากพวกเราแน่!

อย่ามายั่วน้ำโหหน่อยเลย นี่คืออินเตอร์เน็ต หากรัฐบาลไทยเป็นระบอบเซ็นเซอร์ ก็เจอดีจากพวกเราแน่! เพราะเราคือ’วิกิกง’ เราจะทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพทางข้อมูลข่าวสารของประชาชนต่อไป
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 ธันวาคม 2553

ก่อนจะมีการแฉรัฐบาลไทยสมคบกับรัฐบาลอเมริกาส่งตัววิกเตอร์ บูท นั้น ก่อนหน้านี้เวบจอมแฉวิกิลีกส์ได้ประกาศจองเวรเอาไว้ตามคำขู่ข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา เหตุก็เพราะรัฐบาลหุ่นเชิดเทวดาไปหาเรื่องปิดเวบไซต์นี้เข้าซะก่อน แบบไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ
WikiLeaks เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในด้านการนำเอกสารลับของรัฐบาลประเทศต่างๆออกมาแฉทางอินเตอร์เน็ต ประกาศจองเวรรัฐบาลไทยที่ได้ใช้อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินปิดเวบไซต์นี้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้เปิดเวบไซต์แห่งใหม่คือ http://wiki.thaileaks.info/
ทั้งนี้เวบไซต์ดังกล่าวได้เตือนรัฐบาลไทยว่า

“No offense, this is about the internets!
If you are a censorship regime, expect us!”

(อย่ามายั่วน้ำโหหน่อยเลย นี่คืออินเตอร์เน็ต หากรัฐบาลไทยเป็นระบอบเซ็นเซอร์ ก็เจอดีจากพวกเราแน่!”
ทั้งนี้เวบไซต์ไทยลีกส์ ได้ส่งสารถึงรัฐบาลไทยในหัวข้อเรื่อง Thaileaks – Resurrecting Wikileaks in Thailand ซึ่งเวบไซต์robertamsterdamได้แปลเป็นไทยดังต่อไปนี้

“เรียน คณะรัฐบาลไทย
ในที่สุดรัฐบาลของท่านก็ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยเผด็จการแห่งชาติบล็อควิกิลีกส์
บางคนสงสัยว่าข้อมูลส่วนไหนที่ท่านต้องการที่ปิดบังจากประชาชน หรือเป็นข้อมูลที่ระบุว่ามีเวปไซต์ใหม่ทั้งหมด 1,203 เวปไซต์ที่เพิ่งจะถูกบล็อคเมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลเกี่ยวกับนายแฮรี่ นิโคเลดส์ นักโทษทางการเมือง?
อย่างไรก็ตามเหตุผลของท่านไม่เกี่ยวข้องกับเรา เราอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตของท่าน ทำหน้าที่ปกป้องระบบหมุนเวียนข้อมูลอันเสรีภาพ ดังนั้นข้อมูลอะไรก็ตามที่ท่านลบออก เราจะนำกลับมาลงใหม่ เราเกิดและเติบโตในท่อ (เครือข่ายอินเตอร์เน็ต) และภาษาแม่ของเราคือรหัสลับ
วันนี้เราได้จัดทำเวปไซต์ไทยลีกส์ขึ้นมา เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงระบบกรองแบบพื้นๆของท่าน ท่านสามารถเพิ่มเวปไซต์ดังกล่าวลงไปในรายการเวปไซต์ที่ควรถูกบล็อกของท่าน แต่นั้นไม่ได้ทำให้เรากังวลเลย เพราะมีนักท่องอินเตอร์เน็ตหลายพันคนที่พร้อมจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปสู่จุดหมายอันแท้จริง และนั้นก็คือประชาชนชาวไทย
ท่านสามารถเข้าเวปไซต์วิกิลีกส์ด้วยการเข้าไปที่วิกีไทยลีกส์หรือใช้ secure connection ( ท่านต้องกดยินยอมรับใบรับรองก่อน) ใน https-enabled
เราคือวิกิกง ( Wikicong เป็นการเล่นคำระหว่างวิกีกับทหารเวียดกงที่ต่อสู้อเมริกาแบบใต้ดินในสงครามเวียดนาม) หน่วยคอมมานโดใต้ดินของ Telecomix Crypto Munitions Bereau
เราเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน
เราเป็นอิสระ
เราคือแมงกะพรุน
เราจะทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพทางข้อมูลข่าวสารของประชาชนต่อไป”
ทั้งนี้ WikiLeaks เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในด้านการนำเอกสารที่เคยเป็นความลับสำคัญของรัฐบาลประเทศต่างๆมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต โดยอ้างว่ามีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ ถูกทางการของไทยปิดกั้นในวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมานี้
สำนักข่าวAFP รายงานว่า ทางการไทยได้ใช้กฎหมายพรก.ฉุกเฉินปิดกั้นเวบไซต์www.wikileaks.orgในประเทศไทย ในวันที่ 18 สิงหาคม โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง
คำสั่งปิืดกั้นมาจากรัฐบาล ทั้งนี้เป็นไปภายหลังเกิดเหตุไม่สงบขึ้นใจกลางนครหลวงของไทยเมื่อไวๆนี้ จากการเปิดเผยของโฆษกหญิงกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศ(ICT) โดยเป็นการดำเนินการตามกฎหมายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่าทางการไทยได้ปิดกั้นเวบไซต์นับหมื่น ส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเวบที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาำพ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 15 ปี
ส่วนกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิืนที่ประกาศใช้เมื่อปี2548ถูกประกาศใช้ในพื้นที่จำนวนมากหลายส่วนของประเทศไทยในช่วงระหว่าง 2 เดือนที่กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลได้จัดการประท้วงในกรุงเทพฯตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงวันที่19พฤษภาคม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ โดยปิดฉากลงที่กองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างนองเลือด
ในเวลานี้รัฐบาลไทยยังใช้กฎหมายฉุกเฉินในพื้นที่หลายแห่ง รวมทั้งกรุงเทพฯ นครหลวงของไทย โดยใช้เป็นเครื่องมือจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายร้อยคน กับใช้เป็นเครื่องมือปิดสื่อของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
สำหรับเวบไซต์wikileaksถูกเพ่งสู่ความสนใจในระดับนานาชา่ิติในช่วงนี้ เมื่อมีการแฉแผนการรบของอเมริกา จีนออกมา และหนนี้พ่วงเอาไทยเข้าไปด้วยกรณีส่งวิกเตอร์ บูทไปให้อเมริกา โดยชี้หลักฐานว่า รัฐบาลอเมริกาได้แทรกแซงกิจการของไทยด้วยการโทรสายตรงล็อบบี้นายอภิสิทธิ์ในเรื่องนี้

ตอนนี้ wikileaks เริ่มส่งข้อมูลให้ guardian หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษตีพิมพ์เรื่องราวที่น่าตกใจสำหรับประเทศไทย ทีละเรื่องๆแล้ว

วิกิลีคส์แพร่เอกสารทูตสหรัฐฯ สนทนากับ "เปรม-สิทธิ-อานันท์"

“วิกิลีคส์” ปูดเอกสารล่าสุด บันทึกทูตสหรัฐสนทนากับ เปรม ติณสูลานนท์ - สิทธิ เศวตศิลา - อานันท์ ปันยารชุน เป็นการสนทนากันต้นปีนี้ โดยเปรมกล่าวว่าอภิสิทธิ์ “หนุ่มไป” และ “ไม่เข้มแข็งพอ” แต่ยังเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกฯ ส่วน พล.อ.อ.สิทธิ บอกว่ามาร์คเกาะโพเดียมมากไป พร้อมเผยไม่ไว้ใจ “เสธ.แดง” กังวล “อนุพงษ์” มั่นใจ “ประยุทธ์”

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 21.00 น. ตามเวลาสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้เผยแพร่เอกสารลับ หมายเลข “S E C R E T SECTION 01 OF 03 BANGKOK 000192” ซึ่งเป็นบันทึกทางการทูตของนายอีริคส์ จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ลงวันที่ 25 ม.ค. 53 โดยบันทึกซึ่งถูกแบ่งเป็น 15 ย่อหน้า หัวข้อแรกเป็นบทสรุป รายละเอียดเป็นบันทึกของทูตภายหลังจากพบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี

ทูตระบุว่าได้สนทนากับ พล.อ.เปรม ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน วันที่ 13 ม.ค. 53 ส่วนทูตสหรัฐฯ สนทนากับ พล.อ.อ.สิทธิ ที่บ้านพักของ พล.อ.อ.สิทธิ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 53 ส่วนอานันท์สนทนากับทูตสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 52 ในรายงานส่วนใหญ่เป็นบันทึกความเห็นของ พล.อ.เปรม กับ พล.อ.อ.สิทธิ เป็นส่วนใหญ่ มีความเห็นของนายอานันท์ประกอบเล็กน้อย

ในรายละเอียดของเอกสาร มีการสนทนาหัวข้อสำคัญหลายหัวข้อ ทั้งเรื่องการตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความท้าทายที่มาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา


บันทึกระบุ “เปรม” เห็นว่า “อภิสิทธิ์” หนุ่มไปและไม่เข้มแข็ง แต่เปรมยังไม่มีตัวเลือก

ในย่อหน้าที่ 3 ของบันทึก ระบุว่า พล.อ.เปรม เห็นว่านายกรัฐมนตรี “หนุ่มเกินไปและไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่ยากลำบาก” อย่างไรก็ตาม พล.อ.เปรม รู้สึกว่าสิ่งที่อภิสิทธิ์ถูกทดสอบในปี 2552 ก็คือ การถูกท้าทายการทำงานในการขับเคลื่อนรัฐบาลผสมที่มีหลายค่าย ซึ่งไม่ใช่งานง่าย พล.อ.เปรม ยังเสริมว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนที่ดูมีหลักการและมีความซื่อสัตย์มากกว่าอภิสิทธิ์ และประเทศไทยต้องการมีผู้นำเช่นนี้ พล.อ.เปรม มีความหวังว่าชาวไทยและชาวต่างประเทศจะเพิ่มความอดทนกับอภิสิทธิ์ ซึ่ง พล.อ.เปรม เชื่อว่า เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


พล.อ.อ.สิทธิเห็นว่าอภิสิทธิ์ใช้เวลาบนโพเดียมมากไป

ในย่อหน้าที่ 4 บันทึกระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ วิจารณ์อภิสิทธิ์ มากกว่าที่ พล.อ.เปรม วิจารณ์ โดย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวว่าได้บอกบิดาของนายอภิสิทธิ์แล้วว่าในปี 2553 ลูกชายควรเป็นคนกล้าตัดสินใจมากกว่านี้ และมีเพื่อนมากกว่านี้ พล.อ.อ.สิทธิ ยังวิจารณ์ว่าอภิสิทธิใช้เวลาอยู่บนโพเดียมมากเกินไป ไม่มีเวลาที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้อภิสิทธิ์สามารถมอบหมายนโยบายและคิดริเริ่มเรื่องนโยบาย อภิสิทธิ์จำเป็นต้องไปมีส่วนร่วมกับคนรากหญ้า ซึ่งสิ่งนี้เป็นด้านหนึ่งของจุดแข็งทักษิณ ในความคาดหวังของ พล.อ.อ.สิทธิ ยังหวังให้อภิสิทธิ์ตั้ง พล.ต.อ.ประทีป (ตันประเสริฐ) เป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างถาวร หวังให้อภิสิทธิ์ใช้อำนาจที่มีเหนือพรรคร่วมรัฐบาลโดยการขู่ว่าจะยุบสภาถ้าพวกเขาออกนอกแถว และบอกให้กองทัพดำเนินการขับ “ทหารนอกแถว” อย่าง พล.ต.ขัตติยะ (สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง) แม้ว่า พล.อ.ประวิตร (วงศ์สุวรรณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปฏิเสธคำสั่งปลด พล.ต.ขัตติยะ

ในย่อหน้าที่ 5 รายงานว่า พล.อ.เปรมสอบถามเกี่ยวกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ป่วนการทำงานของรัฐบาลและชีวิตประจำวันของประชาชน ทูตอธิบายว่าระบบของสหรัฐอเมริกาให้สิทธิผู้ชุมนุมในด้านเสรีภาพการแสดงความเห็น แต่ไม่สามารถไปชุมนุมได้ทุกที่ ทูตยังแสดงความไม่พอใจในการตัดสินใจที่ส่งผลลบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุน อย่างเช่น มาบตาพุด การยกเลิกหวยออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมายที่มีความไม่เป็นธรรม การฝ่าฝืนข้อตกลง และการควบคุมเคลื่อนย้าย มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนมากกว่าความยุ่งเหยิงทางการเมือง


ไม่ไว้ใจ “เสธ.แดง” กังวล “อนุพงษ์” มั่นใจ “ประยุทธ์”

ในย่อหน้าที่ 6 ทูตสหรัฐบันทึกว่า พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลมากกว่า พล.อ.เปรม ในเรื่องสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปี 2553 โดยเสนอว่า ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ (เผ่าจินดา) ไร้ความสามารถในการควบคุมพล.ต.ขัตติยะ “นายพลหัวแข็ง ซึ่งอยู่ในเครือของเสื้อแดง” ซึ่ง พล.อ.อ.สิทธิกล่าวหาว่า เป็นผู้ยิงระเบิดเอ็ม-79 ใส่ผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง และ พล.ต.ขัตติยะ ยังได้ไปพบกับทักษิณในต่างประเทศด้วย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ใช่ผู้หาข่าวที่ดี

ในบันทึกของทูตอีริค ยังวงเล็บด้วยว่า สามวันถัดจากการคุยกับ พล.อ.อ.สิทธิ มีผู้โจมตีห้องทำงานของ พล.อ.อนุพงษ์ในช่วงกลางคืนด้วยเอ็ม-79 และ พล.ต.ขัตติยะ ถูกสงสัยอย่างมาก

โดยในย่อหน้าที่ 6 บันทึกของอีริค จี จอห์น ระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ มีความหวังกับรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ (จันโอชา) มากกว่า โดยคาดหมายว่าจะได้มาแทนตำแหน่งของ พล.อ.อนุพงษ์ ในเดือนตุลาคม [...] พล.อ.อ.สิทธิอ้างด้วยว่า พล.อ.เปรม ได้ส่งสัญญาณว่าไม่พอใจ พล.อ.อนุพงษ์ โดยแสดงอาการดูแคลนในระหว่างที่บรรดานายพลเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านพักเพื่ออวยพรวันเกิด โดย พล.อ.เปรม ไม่พูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์เป็นการส่วนตัว ระหว่างที่ พล.อ.อนุพงษ์ยืนอยู่กับกลุ่มผู้บัญชาการทหารคนสำคัญๆ

นอกจากนี้ในบันทึกยังกล่าวถึงทัศนะของ พล.อ.เปรม พล.อ.อ.สิทธิ และนายอานันท์ ต่อเรื่องการสืบราชสมบัติด้วย


ทักษิณยังเป็นประเด็นสำหรับเปรม-สิทธิ-อานันท์

ส่วนในย่อหน้าที่ 13 บันทึกของทูตยังระบุด้วยว่า ทักษิณยังคงเป็นประเด็นสำหรับสามบุคคลสำคัญนี้ (เปรม-สิทธิ-อานันท์) อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์กล่าวถึงพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว […] และการท้าทายของทักษิณเป็นต้นเหตุต่อเรื่องเสถียรภาพของประเทศนี้ พล.อ.เปรมถามต่อทูตสหรัฐฯ ว่าสหรัฐอเมริกาควรทำอย่างไรต่อสถานการณ์ของไทย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้แต่งตั้งอดีตผู้นำรายนี้ (หมายถึงทักษิณ) ขึ้นเป็นที่ปรึกษา ซึ่งบุคคลนี้มีความแน่วแน่ในการโค่นล้มรัฐบาล ทูตสหรัฐฯ ตอบว่าขณะที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐจะกล่าวสุนทรพจน์ถึงประเด็นในประเทศอื่นเป็นบางครั้งคราว แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับรัฐบาลประเทศอื่น แต่ทูตสหรัฐ ได้แนะนำ พล.อ.เปรม และเจ้าหน้าที่ไทยให้ใช้วิธีให้ความเห็นต่อสาธารณะในเรื่องกัมพูชา และไม่ควรเล่นเกมตาต่อตาฟันต่อฟันกับทักษิณและฮุนเซ็น

ในบันทึกของทูตวงเล็บว่าดูเหมือนว่า พล.อ.เปรม จะรำพึงถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ก็มีความชัดเจนว่า พล.อ.เปรม มุ่งไปที่ความรับรู้ต่อเรื่องการคุกคามโดยทักษิณ และการที่ฮุนเซ็น อำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมของทักษิณ


พล.อ.อ.สิทธิ ไม่ไว้ใจกัมพูชา บรูไน ลาว เวียดนาม หนุนหลัง “ฮุนเซ็น”

ในย่อหน้าที่ 14 พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เพิ่งมาเยี่ยมเขาในวันคล้ายวันเกิดครบ 90 ปี และชี้ให้เห็นว่าอีกไม่นานไทยจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อภิสิทธิ์จะมีข้อจำกัดน้อยลงในการตอบโต้ด้วยฝีปากกับฮุนเซ็น พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลเพิ่มเติมต่อกรณีของกัมพูชา และบรูไน ว่าน่าจะอยู่ในฝ่ายทักษิณ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของทักษิณ กับฮุนเซ็น และสุลต่านบรูไน ลาว และเวียดนาม ซึ่งน่าจะหนุนหลังฮุนเซ็น ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทย-กัมพูชา ขณะนี้

ในย่อหน้าที่ 15 พล.อ.อ.สิทธิ โจมตีทักษิณว่า พยายามใช้เงิน, ผู้ชุมนุมเสื้อแดง และ ฮุนเซ็น เพื่อ “ทำลายประเทศของเรา” แต่เขาทำนายว่าทักษิณจะทำไม่สำเร็จ ทักษิณไม่เคยพยายามเจรจา พล.อ.อ.สิทธิแนะนำว่า ข้อเรียกร้องทักษิณจะได้รับการตอบสนอง ถ้าเขากลับเข้าประเทศ และรับโทษในคุกพอเป็นพิธี ทักษิณก็น่าจะได้รับการอภัยโทษอย่างรวดเร็ว และได้รับการปล่อยตัวในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ตอนนี้ทักษิณพยายามก่อความยุ่งเหยิง จุดชนวนโดยใช้กำลัง ในขณะที่ พล.อ.อ.สิทธิ ยังคาดด้วยว่า ทักษิณจะแพ้คดีในวันที่ 26 ก.ย. (ปี 53) ต่อกรณีเงินที่ถูกอายัดเงินจำนวน 76,000 ล้านบาท แต่ พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่าจากข้อมูลของเขาแสดงให้เห็นว่าทักษิณยังคงมีเงินราว 240,000 ล้านบาทในต่างประเทศ ทักษิณแทนที่จะอยู่ต่างประเทศเงียบๆ แต่ทักษิณได้ตัดสินใจสู้ โดย พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่า ทักษิณได้ให้ทุนสนับสนุนบรรดาเว็บไซต์โจมตีพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อจุดชนวนต่อทัศนะการต่อต้านสถาบันกษัตริย์
บทความจาก ประชาไท

เรามาทบทวน "วีรกรรม" ของ นปช.-เพื่อไทย เรื่อง "อากง" และ 112 กันอีกที


ภาพ: เพจ มั่นใจว่าเสื้อแดงจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับทักษิณเรื่องการปรองดอง

10 พฤษภาคม 2555
ที่มาเฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

โอเค ถ้าคุณ วรวุฒิ (โฆษก) และ นปช. ต้องการแสดงท่าทีห่วยๆ เรื่อง อากง ก็ได้ครับ ยินดี "จัดให้" - เรามาทบทวน "วีรกรรม" ของ นปช.-เพื่อไทย เรื่อง "อากง" และ 112 กันอีกที

1. นปช. ใช้เวลาถึงกว่า 2 สัปดาห์ หลังการตัดสิน 20 ปี อากง จึงจะกล้า ออกมาเอ่ยชื่อ อากง อย่างเป็นทางการ

ในระหว่างเวลานั้น นปช. มีการแถลงข่าว 2 ครั้ง อ.ธิดา ให้สัมภาษณ์นักข่าวอีก 1 ครั้ง

แต่ไม่มีเลยที่ อ.ธิดา คุณวรวุธ หรือ แกนนำ นปช. หน้าไหน จะมีน้ำยา หรือกระดูกพอทีแค่เอ่ยชื่อ อากง หรือคำตัดสินเฮงซวยนั้น

(และทีว่า ตอนหลังมาพูด ก็ไมใช่ว่า พูดดีนักหนาอะไร)

ในระหว่างเวลาที่ นปช. ท้ังหลาย เงียบเป็นเป่าสากนี้ ทั่วโลก พากันตกใจกับคำตัดสิน แม้แต่พวกรอยัลลิสต์บางคน ยังต้องออกมาพูด

แต่คนที่ อุปโลกน์ตัวเองเป็น "ผู้นำ ขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และความยุติธรรม" ไม่มีแม้แต่ความกล้าทีจะเอ่ยชื่ออากง อย่าว่า แต่วิจารณ์คำตัดสิน หรือ 112 เลย

2. สส.เพื่อไทย ทีเป็นแกนนำ นปช. หลายคน ไม่ต้องพูดถึง เพื่อไทย ท้ังพรรค พากันยกมือสนับสนุนให้ ร่าง กมธ.ปรองดอง - พระปกเกล้า ที่มีเนื้อหาว่า ให้อภัย การ รปห. แต่ยืนยัน ให้คดี 112 อยู่ใน "กระบวนการยุติธรรม" ต่อไป

ไม่มี นปช หรือ เพือ่ไทย หน้าไหน กล้าเอ่ยขึ้นมาเลยว่า การเขียนแบบนี้ มัน ผิดหลัก "นิติรัฐ" ขนาดไหน การ รปห.นั้น โทษประหารชีวิต 112 ถึงจะแย่ยังไง ก็เป็นคดีโทษ 10-20 ปี ถ้าพร้อมจะให้อภัย รปห. ได้ ก็ไม่มีเหตุผลทางหลัก กม.อะไรที่จะไม่ ให้อภัยคดี 112

คนที่เขียร์ เพือไทย-นปช อย่างหลับหูหลับตา รวมทั้ง แกนนำ นปช. เอง ชอบออกมาพูดทำนองว่า "อำนาจอยู่ทีศาล" บ้าง (ความจริง การนิรโทษกรรม อยู่ทีสภา) หรือ "กระบวนการยุติธรรม" มีปัญหา เป็นเรือ่งของอำมาตย์ อะไรบ้าง ไมใช่เรื่อง ของ รบ. ของ นปช.

อ้าว โทษทีครับ ถ้าคุณมรึง รู้ว่า "กระบวนการยุติธรรม" มีปัญหา แล้วเสือกยกมือสนับสนุน ร่าง กมธ. ทีเสนอให้ 112 "เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม" ทำซาก อะไรครับ?

ถ้าจะถามว่า เพื่อไทย - นปช มีท่าที ทางการอย่างไร คดี อากง ก็นี่เลย

การยกมือสนับสนุน ร่าง กมธ.นี่แหละ = บอกว่า คดี อากง และคดี 112 อื่นๆ ให้เป็นไปตามยะถากรรม "ปล่อยให้แม่งอยู่ในคุก ประกันไม่ได้" ต่อไป (และในทีสุด ก็มาตายในคุกนี่แหละ)

นี่แหละท่าทีทางการของ นปช. เพื่อไทย กรณี อากง เลย เถียงยังไง ก็เถียงไม่ได้

3. ไม่ต้องพูดไปถึง ท่าทีของ รบ. และ รมต. ใหญ่ๆ หลายคน ทีออกมา "อัด" ข้อเสนอแก้ 112 หาว่า เป็นเรื่องของ "คนสติไม่ดี" อะไรบ้าง

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
* * * * * * * * *

โลกไซเบอร์ แชร์บทความที่เขียนโดย สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ, โฆษกศาลยุติธรรม เขียนไว้ใน "อากงปลงไม่ตก" เปิดคำเฉลย! ที่มาแห่งคดีโดยโฆษกศาล เมื่อกรุงเทพธุรกิจ 14 ธันวาคม 2554

นี่คือ "อากง" ในสายตายระบบยุติธรรมที่อัปลักษณ์ของไทย

สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ, โฆษกศาลยุติธรรม ได้เขียนบทความต่อคำพิพากษา ในกรณี "อากง" แม้บทความนี้จะเขียนมาหลายเดือนแล้ว แต่เราเห็นว่ามันยังสะท้อนให้เห็นภาพของอากง (หรือผู้ต้องคดี ม.112 อื่นๆ) ในสายตาของระบบยุติธรรมไทยเป็นอย่างดี เนื้อหาบางส่วนของบทความมีดังนี้:

"...แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด

สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิดอย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป..."

ท่านอยากให้ใครเป็นนายก

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Design Blog, Make Online Money