9 พฤษภาคม 2555

โฉมหน้าผู้สร้างความแตกแยกในประเทศไทย

เมื่อมองย้อนกลับไปในปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การชุมนุมคนเสื้อเหลืองในทำเนียบรัฐบาลเงียบเหงาจำนวนและผู้ชุมนุมลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันราย ทุกอย่างดูเหมือนจะสิ้นสุดลงแล้วสำหรับนายสนธิ ลิ้มทองกุล (หรือสนธิ ลิ้ม) ในฐานะที่อ้างตนว่าเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มฝ่ายขวาสุดโต่งซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองแบบต่อต้านการปกครองแบบประชาธิปไตยในทุกรูปแบบ และยังประกาศอย่างเป็นทางการและภาคภูมิใจว่าชื่นชอบการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่าการเลือกตั้ง ความนิยมชมชอบในตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุลตอนนี้ลดลงเหลือแค่เพียงกลุ่มของผู้คลั่งไคล้หัวรุนแรงไม่กี่คน

กระนั้นนายสนธิ ลิ้มทองกุลยังคงมุ่งมั่นที่จะถอดถอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง แม้จะปราศจากการสนับสนุนอย่างแท้จริงจากกลุ่มประชาชนชาวไทย แต่นายสนธิ ลิ้มทองกุลรู้ดีว่าเขาสามารถพึ่งพากลุ่มบุคคลที่มีอำนาจจากกลุ่มอำมาตย์ไทยและกองทัพได้ โดยพวกเขามีเป้าหมายร่วมกันในการหยุดยั้งประชาธิปไตยที่แพร่ขยายในประเทศไทยอย่างรวดเร็วและเพื่อยับยั้งไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนขึ้นมามีอำนาจ

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสนธิ ลิ้มทองกุลเริ่ม “ปฏิบัติการฮิโรชิมา” ซึ่งจะเป็นการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้า “ฮิโรชิมา” กลุ่มพันธมิตรใช้วาทศิลป์เรียกปฎิบัติการที่นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุลเรียการชุมนุมว่า “สงครามครั้งสุดท้าย”

ในความเป็นจริงแล้ว มีประชาชนเพียงไม่กี่คนเข้าร่วมการชุมุนม “สงครามครั้งสุดท้าย” ครั้งนี้ ถึงกระนั้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน กองทัพที่ยุ่งเหยิงของผู้สนับสนุนพันธมิตรหัวรุนแรงได้ยิงตำรวจระหว่างการพยายามเข้ายึดสนามบิน และในที่สุดพวกเขาก็ยึดสนามบินหลักทั้งสองแห่งในกรุงเทพฯได้

รัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยทำอย่างถูกต้องที่สั่งให้กองทัพไทยเข้าแทรกแซงและรักษาความสงบเรียบร้อยที่สนามบินทั้งสองแห่ง แต่กองทัพปฏิเสธ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและจัดการเลือกตั้งแทน แสดงให้เห็นว่าไม่ได้อยู่ในการควบคุมของระบอบประชาธิปไตยและพลเรือน

สถานการณ์ดำเนินไปจนกระทั่งพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคผู้นำรัฐบาลถูกยุบโดยบทบัญญัติที่น่าสงสัยอย่างมากในรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งร่างโดยคำสั่งของรัฐบาลทหารที่ขึ้นสู่อำนาจโดยรัฐประหารที่มิชอบด้วยกฎหมายในปี 2549

อีกครั้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากลุ่มนักการเมือง ทหารและกลุ่มฝ่ายขวาบ้าคลั่งที่ต่อต้านประชาธิปไตยขนาดเล็ก นำโดยกลุ่มบุคคลเช่น นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งมีอำนาจเหนือคนส่วนมากทั้งประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือตั้งแต่นั้นมาผู้นำทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกสื่อต่างชาติป้ายสีอย่างไม่รู้จนสิ้นว่าเป็นคนสร้าง “ความแตกแยก” ในขณะที่ผู้ปลุกระดมอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลถูกนำเสนอว่าเป็นแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ชอบด้วยกฎหมาย

ตั้งแต่การยึดสนามบินในปี 2551 อาณาจักรสื่อเอเอสทีวีและผู้จัดการซึ่งบริหารงานโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุลตกต่ำกลายมาเป็นเครื่องมือของการสร้างความแตกแยกเกลียดชังอย่างเห็นได้ชัดและสนับสนุนแคมเปญการเมืองฝ่ายขวาหัวรุนแรง ซึ่งหล่อเลี้ยงแนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรโดยแท้ การเผยแพร่คำพูดเหยียดเชื้อชาติต่อคนพม่า คนเขมร และคนไทยอีสานผิวเข้มเป็นเหมือนสารอาหารที่สำคัญของผู้ฟังสื่อเอเอสทีวีและผู้จัดการ มีการปลุกฝังหัวสมองของพวกเขาให้เหยียดคนยิวและมีการการข่มขู่อันเลวร้ายซึ่งมักพุ่งเป้าไปที่ใครก็ตามที่ถูกมองว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างเพียงพอ

หลังการยึดสนามบิน นายสนธิ ลิ้มทองกุลและเพื่อนร่วมอุดมการณ์พันธมิตรของเขาได้ก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่าพรรคการเมืองใหม่ อย่างไรก็ตาม มันไม่มีอะไรใหม่สำหรับพรรคการเมืองใหม่ เพราะยืมหลักการมาจากผู้นำทหารพม่าและกลุ่มเผด็จการฟาสซิสต์ในยุโรป พวกเขาประกาศว่าต้องการ “การเมืองที่ขาวสะอาด”โดยการแนะนำว่าผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรควรมาจากการแต่งตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์

นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ พรรคการเมืองใหม่ล้มเหลวอย่างราบคราบและสิ้นเชิง โดยพวกเขาแทบไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนไทยและล่มสลายลงในปี 2554 เพราะความขัดแย้งภายใน ตั้งแต่นั้นมานายสนธิ ลิ้มทองกุลและผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลจากเขากลายเป็นแกนนำกลุ่มประท้วงขนาดเล็กหลายกลุ่ม

ในปี 2554 นายสนธิ ลิ้มทองกุลและกลุ่มพันธมิตรจัดแคมเปญอันยาวนานเพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะใช้กำลังทหารเพื่ออ้างสิทธิ์ครอบครองพื้นที่ขัดแย้งล้อมรอบปราสาทพระวิหารในประเทศกัมพูชา พวกเขาปิดถนน นอนค้างบริเวณนอกทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้สนับสนุนนายสนธิ ลิ้มทองกุลมีจำนวนสิบคน และที่น่าสมเพชคือเอเอสทีวีต้องเปิดเสียง “ตบมือ” ในระหว่างการถ่ายทอดสดการชุมนุม

เมื่อไม่นานมานี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุลและกลุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขาจากพันธมิตรซึ่งมักจากเรียกตัวเองว่า “กลุ่มเสื้อหลากสี” หรือมีชื่อแนวชาตินิยม ได้จัดการชุมนุมเพื่อปกป้องกฎหมายทารุณอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย และอีกครั้งที่แรงสนับสนุนต่อกลุ่มทายาทพันธมิตรมีเพียงน้อยนิดและสามารถรับรู้ได้จากประเทศที่มีประชากร 67 ล้านว่าคนกลุ่มนี้แทบจะไม่มีตัวตน

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 นายสนธิ ลิ้มทองกุลถูกตัดสินจำคุก 85 ปีเนื่องจากการคดีปลอมแปลงเอกสารหลายคดี เนื่องจากนายสนธิ ลิ้มทองกุลรับสารภาพโทษจึงถูกลดเหลือครึ่งหนึ่งและเหลือเพียง 20 ปีซึ่งเป็นโทษสูงสุดของคดีนี้ในที่สุด แต่กระนั้น เรื่องตลกร้ายของคนที่ถูกตัดสินลงโทษปลอมแปลงเอกสารแต่กลับเป็นแกนนำต่อต้านการคอร์รัปชั่นและเรียกร้องหารัฐบาลที่ดี การเคลื่อนไหวดูเหมือนจะไร้ทิศทางสำหรับนายสนธิและกลุ่มผู้สนับสนุน และในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรในเดือนมีนาคมนายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่ากลุ่มเขาพร้อมที่จะเคลื่อนอีกครั้งเพื่อต่อต้านนักการเมือง “ฉ้อฉล”

แม้เขาจะได้รับการสนับสนุนเพียงน้อยนิด แต่หากคุณอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาษาอังกฤษ คุณอาจรู้สึกอยากให้อภัยเพราะคิดว่านายสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นแกนนำเคลื่อนไหวภาพประชาชนขนาดใหญ่ การชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมไม่กี่ร้อยคนปรากฎเป็นหัวข่าวใหญ่และถูกเขียนบรรยายว่านี่คือหลักฐานของการแตกแยกอย่างใหญ่หลวงในสังคมไทย โดยอ้างว่าความแตกแยกนี้เป็นผลมาจากความปรารถนาอยากกลับประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกขับไล่ออกจากตำแหน่งโดยทหาร ดร.ทักษิณ ชินวัตร

ถึงแม้จะมองดูอย่างคร่าวๆ เราจะพบว่าทักษิณและพรรคการเมืองที่เป็นแนวร่วมของเขาได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าจนถึงทุกวันนี้ว่า พวกเขาเป็นพรรคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย นายสนธิ ลิ้มทองกุลและกลุ่มก่อกวนอันธพาลขนาดเล็กของเขาไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนไทยอย่างแท้จริง และไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนไทย พวกเขาสนับสนุนความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไไม่รู้จบสิ้นโดยใช้วิธีการและกลยุทธ์ที่ต่ำทราม

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากให้ใครเป็นนายก

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Design Blog, Make Online Money